การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์หรือการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามกฎหมายลิขสิทธิ์มีอยู่สองกรณีคือการได้มาโดยผลของกฎหมาย และการได้มา โดยทางนิติกรรม การได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาจะมีข้อแตกต่างไปจากการได้มา ซึ่งทรัพย์อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 )
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทยและตามระบบของ Berne copyright convention เป็นการได้มาโดยอัตโนมัติ กล่าวคือไม่มีแบบพิธีเหมือนกับประเทศอื่น บางประเทศที่ใช้อยู่ เช่นการจดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นต้น
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แยกออกได้ดังนี้
1 การได้ลิขสิทธิ์ในฐานผู้สร้างสรรค์
2 การได้ลิขสิทธิ์โดยการจ้างทําของ
3 การได้ลิขสิทธิ์โดยการจ้างแรงงาน
4 การได้ลิขสิทธิ์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
5 การได้ลิขสิทธิ์โดยการรับโอน
6 การได้ลิขสิทธิ์โดยทางมรดก
7 การได้ลิขสิทธิ์โดยการควบบริษัท
8 การได้ลิขสิทธิ์โดยรวบรวม
9 การได้ลิขสิทธิ์โดยการเปลี่ยนแปลง
” ฎีกาที่ 84642534 ลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งซึ่งแตกต่างจากสังหาริมทรัพย์และ อสังหาริมทรัพย์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์มีลักษณะพิเศษแตกต่างกับเงื่อนไขของการได้มาของทรัพย์ ประเภทอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การครอบครองปรปักษ์ แต่การได้มาซึ่ง ลิขสิทธิ์ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. 1382
cr http://e-book.ram.edu

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์