บล็อกเชนที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
ปัจจุบันในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ยังคงมีข้อจํากัดหลายประการ เช่น หลัก ฐานการดําเนินการแต่ละขั้นตอนยังคงใช้ระบบเอกสารเป็นส่วนใหญ่ในแต่ละขั้นตอนของการ ขนส่งและการบิน ทําให้ต้องมีการจัดเตรียมและแลกเปลี่ยนเอกสารในแต่ละขั้นตอน ซึ่งอาจทําให้ เกิดความซับซ้อนและความล่าช้าในกระบวนการทํางาน ที่มีความจําเป็นในการสื่อสารระหว่าง หลายฝ่ายในขั้นตอนการขนส่ง ปัจจุบันแม้ว่ามีบริษัทขนส่งหรือสายการบินจํานวนมาก แต่ในแต่ละ บริษัทหรือสายการบินนั้นยังคงมีการนําเทคโนโลยีมาใช้ในระดับที่แตกต่างกัน จึงอาจทําให้เกิดความ ซับซ้อนเมื่อต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนี้ในการขนส่งหรือการบินระหว่างประเทศ อาจมีบางขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศปลายทางซึ่งมีความแตกต่างกันใน แต่ละเขตแดน ซึ่งส่วนใหญ่การขนส่งระหว่างประเทศนี้ ยังคงต้องใช้ระบบเอกสารในการสื่อสาร ผ่านศุลกากร จะเห็นได้ว่าในระบบการขนส่งปัจจุบันยังคงมีความซับซ้อนและทําให้เกิดความล่าช้า โดยไม่จําเป็นอีกหลายส่วน
ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลบนระบบบล็อกเชน ที่มีข้อเด่นไม่ว่าจะ เป็นการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ มีความปลอดภัยสูง มีความโปร่งใสและไม่สามารถแก้ไข ข้อมูลที่บันทึกไปแล้วได้ ทําให้สามารถนํามาแก้ไขข้อจํากัดของอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติ กส์ข้างต้นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหลากหลายอุตสาหกรรมในแง่มุมของการขนส่งของทั้งห่วงโซ่ อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้าไปถึงผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งในอุตสาหกรรม ยา อุตสาหกรรมอาหาร หรือในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้การเก็บข้อมูลบนระบบบล็อกเชนมาใช้ในอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติ กส์ เช่น แพลตฟอร์มบริหารจัดการการขนส่ง Road Launch ที่นําการทํารายการเดินบัญชีแบบ กระจายศูนย์ของระบบบล็อกเชนมาใช้บันทึกการดําเนินการและติดตามสินค้าระหว่างการขนส่ง (Roadlaunch, 2018) นอกจากนี้ในธุรกิจการบิน ได้มีบริษัทสตาร์ทอัพชื่อว่า Aeron ได้พัฒนา แพลตฟอร์มเก็บข้อมูลเที่ยวบิน นักบินและลูกเรือ สําหรับให้นักบิน สายการบิน หน่วยบังคับการ บิน เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้บนพื้นฐานการทํางานจากระบบ บล็อกเชน (Aeron, 2018)
Aran 2018)
ในอุตสาหกรรมค้าปลีกยังได้มีการนําเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ ตัวอย่างเช่น ผู้นําตลาด ค้าปลีกในประเทศสหรัฐอเมริการอย่าง Walmart ที่มีความร่วมมือกับ IBM ในการพัฒนาระบบ ติดตามวัตถุดิบอาหารที่จะนําเข้ามาขายในซุปเปอร์มาเก็ต (Techcrunch, 2018) โดยเฉพาะกลุ่ม ผักและผลไม้ ซึ่งอาจเกิดการปนเปื้อนของวัตถุดิบได้ระหว่างการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการปนเปื้อน จากเชื้อแบคทีเรีย หรือสารพิษอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค (CNBC, 2018) โดยระบบ นี้ถูกเรียกว่า IBM Food Trust เป็นระบบที่เปลี่ยนจากการเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบ เอกสารเป็นระบบดิจิทัลที่ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงได้ เพื่อติดตามวัตถุดิบตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบ ผู้ แปรรูปอาหาร ผู้ขนส่ง ผู้กระจายสินค้า จนมาถึงซุปเปอร์มาเก็ตเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ ระบบ นี้นําความสามารถของระบบการเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชนมาใช้ในการบันทึกข้อมูลระหว่างการ ขนส่งทั้งหมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัย การันตีความสดใหม่ของวัตุดิบ เพิ่มอายุการเก็บรักษา (shelf Life) ลดจํานวนสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพและของเสียเหลือทิ้ง (IBM, 2018) นอกจากนี้ Carrefour ร้านซุปเปอร์มาเก็ตจากประเทศฝรั่งเศส ยังออกมาประกาศในทิศทางเดียวกับ Walmart ว่าจะนําระบบการเก็บข้อมูลบนระบบบล็อกเชนมาใช้ในการติดตามสินค้าทั้งน้ําผึ้ง ไข่ ชีส นม ส้ม มะเขือเทศ แซลมอน และแฮมเบอร์เกอร์ที่วางขาย ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) ซึ่งก่อน หน้านี้ผลิตภัณฑ์จําพวกเนื้อไก่สดออแกนิคสามารถติดตามสินค้าได้แล้ว โดย Carrefour ได้พัฒนา ระบบการติดตามในรูปแบบที่ลูกค้าสามารถสแกน QR Code บนผลิตภัณฑ์โดยโมบายแอปพลิ เคชัน (mobile application) เพื่อเข้าถึงข้อมูลการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (Carrefour, 2018)
ในส่วนของการขนส่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทสตารท์อัพ CarBlock เป็นผู้นํา ในการนําระบบบล็อกเชนมาใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับยานยนต์จากอินเทอร์เน็ต เพื่อนํามาใช้ ติดตามราคาอะไหล่ และเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ อุปกรณ์และบริการเกี่ยว กับรถยนต์ผ่าน CAR Token เพื่อให้ผู้บริโภคได้ราคาและคุณภาพของสินค้าที่ดีที่สุด (CarBlock, 2018)
2.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
ข้อจํากัดของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพในปัจจุบันส่วนใหญ่ที่ระบบ บล็อกเชนสามารถเข้ามาช่วยแก้ไขได้ เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ ซึ่งใน ปัจจุบันการขนส่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้เป็นการขนส่งในปริมาณมาก จึงอาจทําให้เกิดความผิดพลาด ได้ง่าย และเนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง อาจมีการขนส่งหรือการซื้อขายที่ไม่โปร่งใสเกิดขึ้น
ได้
เช่นเดียวกับที่กล่าวไปแล้วในหัวข้ออุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ การเก็บข้อมูลบน ระบบบล็อกเชนช่วยทําให้ระบบการทํางานสะดวกและรวดเร็วขึ้น ด้วยการเก็บข้อมูลในระบบ ดิจิทัล ที่ปลอดภัยและโปร่งใส ทําให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลและติดตามการขนส่ง และการแปรรูปแต่ละขั้นตอนได้ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ แหล่งแปรรูป คลังสินค้า จนมาถึงมือผู้บริโภค
3.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
ปัจจุบันการเก็บข้อมูลผู้ป่วยของแต่ละสถานพยาบาลยังคงถูกเก็บเป็นความลับของผู้ป่วย ไม่สามารถเปิดเผยให้กับบุคคลอื่นทราบได้ ซึ่งแต่ละสถานพยาบาลก็มีมาตรการและขั้นตอนใน การรักษาความลับผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ด้วยการใช้ระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ฐานข้อมูลผู้ป่วยจะได้รับการอัพเดตก็ต่อเมื่อมีการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ ผู้ป่วย เช่น การตรวจสุขภาพ กระบวนการรักษา หรือผลข้างเคียงจากยาและการรักษา ซึ่งข้อมูล เหล่านี้ยังคงถูกเก็บเป็นความลับภายในสถานพยาบาล ไม่มีการเปิดเผยนอกเหนือจากการส่งต่อผู้ ป่วยระหว่างสถานพยาบาล อีกประเด็นหนึ่งคือปัจจุบันยังคงพบเห็นยาเถื่อน หรือยาที่ยังไม่ได้รับ การขึ้นทะเบียนอยู่ตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่ถูกซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ผู้ขายไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยาจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จากสถิติในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) มีการจับกุมการลักลอบจําหน่ายยาผลิตภัณฑ์อาหาร เสริมและยาอันตรายเกิน 100 ครั้ง ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 185 ล้านบาท (กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, 2015) นอกจากนี้ในแต่ละปียังมีการยกเลิกทะเบียนตํารับยาทั้งยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเองในประเทศ การนําเข้ามาแบ่งบรรจุและการนํามาเข้ามา ขายโดยตรง รวมกันมากกว่า 6,000 รายการระหว่างปี ค.ศ. 2012 – 2016 (พ.ศ. 2555 – 2559) (สํานักยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2016) ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากการกระจาย ข้อมูลที่ไม่ทั่วถึง ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เท่าที่ควร ทําให้เกิดผลกระทบในวง กว้าง เช่น มียอดการเสียชีวิตจากการใช้ยาเถื่อนสูงขึ้น
เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลบนระบบบล็อกเชนสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้หลาย ประการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1.) การนําระบบบล็อกเชนมาใช้เก็บข้อมูลการขึ้น ทะเบียน และการขนส่งยาหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์อื่น ๆ และ 2.) การนําระบบบล็อกเชนเข้า มาใช้เก็บข้อมูลผู้ป่วย
การนําระบบบล็อกเชนมาช่วยในธุรกิจยาสามารถทําได้เช่นเดียวกับที่กล่าวไปแล้วใน หัวข้ออุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ที่ระบบบล็อกเชนสามารถนํามาใช้เก็บข้อมูลระหว่างขั้น ตอนการผลิตและการขนส่งยา ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ําถึงมือผู้บริโภค โดยข้อมูลที่เก็บบนระบบบล็อก เชนต้องมาจากผู้มีส่วนร่วมที่ผ่านการรับรองแล้ว จึงมีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง ซึ่งจะสามารถ ช่วยลดจํานวนยาเถื่อน ยาที่ไม่ผ่านมาตรฐาน หรือยาที่ถูกเพิกถอนไปแล้วได้ โดยผู้บริโภคสามารถ เข้าถึงข้อมูลยาที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ในแง่การนําระบบบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลผู้ป่วยและบริหาร จัดการการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวอย่างปลอดภัยก็สามารถทําได้ โดยตัวอย่างการนําระบบการเก็บ ข้อมูลบนเครือข่าย
บล็อกเชนมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย เช่น MedRec ระบบบริหารจัดการ ข้อมูลผู้ป่วยแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยการเก็บ Smart Contract และรหัสข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้ป่วย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างปลอดภัย เพื่ออํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วย ระหว่างสถาบันการแพทย์ โดยปกติแล้วอาจมีการโอนย้ายข้อมูลผู้ป่วยได้ไม่ครบถ้วน เมื่อผู้ป่วย ต้องการย้ายที่รักษา และยังให้ผู้ป่วยสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง เก็บหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล กับสถาบันทางการแพทย์ที่ต้องการได้ ตัวอย่างการทํางานของระบบดังแสดงในรูปที่ 4 ขั้นตอน การทํางานของระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย MedRec (Viral Commนnications, 2016) เริ่ม ต้นจากแพทย์เพิ่มข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลการรักษาเข้าในเครือข่ายผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะเชื่อมต่อ กับฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลแบบการเข้ารหัส ทําให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้เมื่อได้รับการยืนยันตัวตน ตามระบบการทํางานของบล็อกเชน นอกจากนี้หน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยงานภาครัฐ หรือ สถาบันวิจัย ยังสามารถเข้าถึงระบบนี้ได้เพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์ในการออก กฎระเบียบที่เหมาะสม หรือการวิจัยพัฒนาได้ ผ่านส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (Application Programming Interface) หรือ API โดยระบบต้นแบบจากความร่วมมือของ MIT Media Lab และ Beth Israel Deaconess Medical Center ซึ่งสามารถใช้ติดตามการจ่ายยาให้แก่ผู้ ป่วยในฐานข้อมูลได้แล้ว (MedRec, 2018)
ในส่วนของแอปพลิเคชันจากเอกชนอย่าง AFIA ได้สร้างขึ้นบนระบบ Blockstack ที่ใช้ เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลบนระบบบล็อกเชน เป็นการเก็บข้อมูลสุขภาพและควบคุมการเข้าถึงข้อมูล ดังกล่าวให้สอดคล้องกับ US Health Insurance Portability and Accountability Act (ความ ปลอดภัยของข้อมูลป่วย) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวที่ต้องการเก็บเป็นความ ลับ หรือแชร์กับสถาบันทางการแพทย์ได้ (Coindesk, 2018)
4.หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม
ปัจจุบันมีความสนใจในการนํากลุ่มหุ่นยนต์ที่ไม่ซับซ้อนมาใช้ทํางานร่วมกันหรือ ที่เรียกว่า Swarm Robotics มาใช้มากขึ้น ระบบการทํางานของกลุ่มหุ่นยนต์นี้ได้รับแรง บันดาลใจมาจากการทํางานของมดและแมลง ซึ่งเป็นการทํางานร่วมกันที่ทําให้ได้ผลผลิต จํานวนมาก ระบบการทํางานของ Swarm Robotics นี้ใช้หุ่นยนต์ที่มีความซับซ้อนต่ํา ทน ต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีและง่ายต่อการผลิต แต่ด้วยความจําเป็นในการสื่อสารระหว่างหุ่น ยนต์แต่ละตัวเพื่อให้ทํางานร่วมกับสมาชิกตัวอื่นได้อย่างราบรื่น การสื่อสารนี้จําเป็นต้อง เป็นการสื่อสารที่ปลอดภัยและรบกวนได้ยาก เพื่อป้องกันการทํางานที่ผิดพลาด – ระบบความปลอดภัยของระบบการเก็บข้อมูลบนเครือข่ายบล็อกเชนจึงมี ประโยชน์ในการนํามาช่วยในการสื่อสารระหว่างกลุ่มหุ่นยนต์นี้ ด้วยระบบการรักษาความ ปลอดภัยแบบกุญแจคู่ คือ กุญแจสาธารณะ (public key) และกุญแจส่วนตัว (private key) สามารถลดการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ โดยการสื่อสารระหว่างหุ่นยนต์จะ ใช้การระบุตัวของหุ่นยนต์ที่ต้องการจะสื่อสารด้วยกุญแจสาธารณะ และหุ่นยนต์ตัวนั้นจะ สามารถถอดรหัสข้อความที่ส่งมาได้ด้วยกุญแจส่วนตัวเพื่อเป็นการยืนยันตัวตน นอกจาก นี้การควบคุมกลุ่มหุ่นยนต์ผ่านเครือข่ายบล็อกเชนยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ทํางานของหุ่นยนต์ได้ โดยการเชื่อมโยงหลายเครือข่ายบล็อกเชนที่ควบคุมการทํางาน แต่ละหน้าที่เข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า Pegged Sidechain เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถ ทํางานหลายหน้าที่พร้อมกันได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลการทํางานแต่ละขั้นตอนของหุ่นยนต์ แต่ละตัวบนเครือข่ายบล็อกเชน ทั้งกลุ่มหุ่นยนต์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลการทํางานของ แต่ละตัวได้ และเมื่อมีสมาชิกตัวใดตัวหนึ่งเสีย สามารถนําหุ่นยนต์ตัวใหม่เข้ามาทํางาน แทนที่ต่อได้ทันที โดยเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้บนเครือข่าย (Ferrer, 2017)
Cr กรมทรัพย์สินทางปัญญา