วิเคราะห์สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน

วิเคราะห์สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน

จากการวิเคราะห์สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน จะเห็นได้ว่าสิทธิบัตรใน กลุ่มการพัฒนาระบบบล็อกเชนไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผู้ใช้ การจัดการการเข้าถึง ข้อมูล และการเข้ารหัสข้อมูล ล้วนแล้วแต่เป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบล็อก เชน โดยเฉพาะความปลอดภัยและความโปร่งใสในการเก็บรักษาข้อมูล โดยไม่จําเป็นต้องใช้ ตัวกลางในการบริหารจัดการข้อมูล อย่างเช่น ที่ธนาคารเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินตรา และทําธุรกรรม นอกจากจะเป็นการลดการทํางานผ่านตัวกลางได้แล้ว ยังสามารถเป็นการลดค่าใช้ จ่ายได้ด้วย เนื่องจากระบบบล็อกเชนอาศัยการเก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเท่านั้น ซึ่งการพัฒนาส่วนนี้ถือเป็นจุดแข็งของเทคโนโลยีบล็อกเชน
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของเทคโนโลยีก็ยังคงมีอยู่ในแง่ของการนํามาปรับใช้ที่ต้องอาศัย ความรู้ความเข้าใจในตัวเทคโนโลยีบล็อกเชนในวงกว้างก่อน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่อยู่ อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษาจริงอาจคิดว่าเป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ยาก ต่อการใช้จริง จึงอาจนําไปสู่การใช้ในวงจํากัด และไม่ได้รับการยอมรับในเทคโนโลยีจากคนส่วน
มาก
เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากภายนอกจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลบนระบบบล็อก เช่นนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะนําเข้าไปปรับใช้กับหลากหลายอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ด้วยศักยภาพในการ เก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใส โดยตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ สุกลเงินดิจิทัลที่มีพื้นฐานการ ทํางานด้วยระบบบล็อกเชน ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในการแลกเปลี่ยนเงิน การทํา ธุรกรรมทางการเงินได้ และสร้างผลกระทบต่อสถาบันการเงินได้ในวงกว้าง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การนําเทคโนโลยีมาใช้งานจริง นอกจากนี้บริษัทชั้นนําของโลกหลาย ๆ ที่ก็ได้เริ่มนําเทคโนโลยี มาปรับใช้ในอุตสาหกรรมตนแล้ว ดังที่แสดงในรายงานการวิเคราะห์ฉบับนี้ตัวอย่างเช่น IBM ที่ มีการทํา Solution platform จากเทคโนโลยีบล็อกเชนที่สามารถนําไปปรับใช้ในองค์กรได้ เพื่อ ประโยชน์ในการเก็บและติดตามสถานะสินค้าและข้อมูลอื่น ๆ บวกกับปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัลที่เน้น การพัฒนาเปลี่ยนแปลงระบบการทํางานเดิมเข้าสู่ระบบดิจิทัล ทําให้เป็นการง่ายต่อการนําระบบ บล็อกเชนเข้ามาเสริม เพิ่มขีดความสามารถในการทํางานในยุคดิจิทัลอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามของเทคโนโลยีนี้ก็ยังเกิดได้จากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นระบบ กฎหมายที่อาจจะยังไม่เอื้ออํานวยในหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีบล็อก เชนนี้ยังคงเป็นเทคโนโลยีเกิดใหม่ ที่ยังไม่มีผลที่เกิดจากการใช้จริงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่าสมควร แก่การนํามาใช้หรือไม่ ทําให้ผู้ออกกฎหมายในหลายที่ยังไม่สามารถออกกฎเกณฑ์มาควบคุมได้ นอกจากนี้ การนําเทคโนโลยีบล็อกเชนมาปรับใช้ในการทํางานส่วนใหญ่ เหมาะสําหรับการใช้เก็บ ข้อมูลที่ต้องการติดตาม เช่น การติดตามสินค้า หรือระบบการลงทะเบียนต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ ในการเก็บข้อมูลที่ได้จากการทํางานของหลายฝ่ายร่วมกัน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างโปร่งใส จะ เห็นได้ว่าประโยชน์ที่แท้จริงของการนําเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้คือการทํางานที่ง่าย สะดวก รวดเร็วขึ้น เมื่อจําเป็นต้องทํางานร่วมกันหลายฝ่าย แต่ส่วนนี้ก็ยังคงเป็นภัยคุกคามที่สําคัญ เนื่องจากต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อตกลงหันมาใช้การเก็บข้อมูลบนระบบบล็อกเชน เหมือนกันทุกฝ่าย ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานในการตกลงร่วมมือนี้ อย่างเช่น การทําแพลตฟอร์มจาก ระบบบล็อกเชนของ IBM ที่ชื่อว่า TradeLens ที่ร่วมกันพัฒนากับ Maersk บริษัทขนส่งระดับโลก จากประเทศเดนมาร์ก สามารถทํา Smart Contract ได้ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการเดิน เรือระหว่างประเทศ ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ส่งสินค้า บริษัทเดิน เรือ และหน่วยงานด้านภาษี เพื่อตกลงร่วมกันใช้แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งจากการทดสอบระบบมานาน 12 เดือนในช่วงปี ค.ศ. 2017-2018 (พ.ศ. 2560-2561) มีบริษัทขนส่งเข้าร่วมนอกจาก Mae rsk เองอีก 2 บริษัทเท่านั้น คือ Pacific International Lines (PIL) และ Hamburg Sud และ หน่วยงานศุลกากรในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศ ออสเตรเลีย ประเทศเปรูเท่านั้น (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2018) (Blognone, 2018) ด้วยเหตุนี้จึง ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้อีกหลากหลายฝ่ายที่มีส่วนร่วม เข้าร่วมการใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อเกิดการแปลงเปลี่ยนในวงกว้าง

Cr กรมทรัพย์สินทางปัญญา

วิเคราะห์สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน

วิเคราะห์สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน

Translate »