สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ และสิทธิของผู้สร้างสรรค์ ตามหลักกฏ หมายลิขสิทธิ์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์เสมอไป เช่นอาจจะเป็นผู้ รับโอนไม่ว่าจะเป็นการโอนโดยนิติกรรมหรือโดยผลของกฎหมาย แม้ลิขสิทธิ์จะโอน ไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีสิทธิบางประการที่ไม่โอนไปด้วย สิทธิดังกล่าวได้แก่สิทธิที่เรียก ว่าธรรมสิทธิ (Moral right) ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์ดังนี้

ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มีสิทธิที่จะแสดงว่าตน เป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์ หรือบุคคลอื่น ใดบิดเบือน ตัดทอนดัดแปลง หรือทําโดยประการอื่นใดแก่งานนั้น จนเกิดความเสีย หายต่อชื่อเสียง หรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ และเมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความ ตาย ทายาทของผู้สร้างสรรค์มีสิทธิจะฟ้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่ง การคุ้มครองลิขสิทธิ์ทั้งนี้ เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร”
สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่กล่าวถึงต่อไปนี้เรียกว่า สิทธิในทางเศรษฐกิจของผู้สร้างสรรค์ ที่กฎหมายให้การคุ้มครองหรือให้สิทธิแก่เจ้า ของลิขสิทธิ์ในการที่จะหาประโยชน์หรือรายได้จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของตน แต่ตาม กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยยังขาดสิทธิทางเศรษฐกิจอีกประเภทหนึ่ง คือ สิทธิที่จะได้ ประโยชน์หรือค่าตอบแทนในการจําหน่ายช่วงในงานบางประเภท เช่น งานศิลปฯ ซึ่ง เรียกว่า “Droit de suite” (18) ส่วนสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ไทย มาตรา 15 บัญญัติไว้ดังนี้

“ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมี สิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทําซ้ําหรือดัดแปลง (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสําเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพ ยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกําหนดเงื่อนไข อย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกําหนดในลักษณะที่เป็นการจํากัดการแข่ง ขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจํากัดการแข่งขันโดยไม่ เป็นธรรมหรือไม่ : ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎ กระทรวง
3.1 การอนุญาต การอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 15(5) กฎหมายมิได้กําหนดให้ต้องทําเป็นหนังสืออย่างเช่น ข้อกําหนดเกี่ยวกับการโอน ลิขสิทธิ์ตามมาตรา 17 ลักษณะของการอนุญาตโดยทั่วไปเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะ อนุญาตให้บุคคลหลาย ๆ คนได้ใช้สิทธิในสิทธิใด ๆ ได้พร้อมกันหรือเพิ่มเติมการ อนุญาตจากคนที่หนึ่งให้แก่คนที่สอง หรือสามได้โดยไม่จํากัดจํานวน เว้นแต่ใน หนังสืออนุญาตได้ระบุห้ามไว้ดังเช่น ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ 2537 ดังนี้

“ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิ ตามมาตรา 15(5) ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้น ได้ด้วยเว้นแต่ในหนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้”
– การระบุข้อห้ามไว้ในหนังสืออนุญาต ที่จะห้ามมิให้ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิอีก การระบุข้อห้ามในหนังสืออนุญาตยังสามารถระบุ ห้ามการใช้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในสิทธิที่ได้อนุญาตไปแล้วได้ด้วย ทําให้การ อนุญาตให้ใช้สิทธิในกฎหมายลิขสิทธิ์มีรูปแบบการอนุญาตอยู่ 3 แบบ กล่าวคือ
3.1.1 การอนุญาตโดยทั่วไป การอนุญาตในลักษณะนี้ถือเป็นการ อนุญาตที่ไม่ตัดสิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ที่เคยอนุญาตไปแล้ว ใช้ได้อีก และเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีสิทธิที่ใช้งานนั้นได้ด้วย
3.1.2 การอนุญาตให้แต่ผู้เดียว หมายถึงการอนุญาตที่ห้ามมิให้ผู้ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้แก่บุคคลอื่นใช้สิทธินั้นได้อีก แต่ไม่ห้ามผู้เป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ที่จะใช้สิทธิดังกล่าวที่ได้อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิไปแล้ว
3.1.3 การอนุญาตให้แต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาด หมายถึงรูปแบบหรือ ลักษณะการอนุญาตที่กําหนดข้อห้ามไว้ในหนังสืออนุญาต ที่ห้ามเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ได้ อนุญาตไปแล้วใช้สิทธินั้น ตลอดจนห้ามมิให้เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ สิทธินั้นอีก
การอนุญาตให้แต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาดนี้ผู้ได้รับอนุญาตอาจมีสถานภาพเหมือน เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หากเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิทุกสิทธิที่ประกอบขึ้นเป็นลิขสิทธิ์ อันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ และเป็นการอนุญาตให้ตลอดอายุการคุ้ม ครองลิขสิทธิ์ ซึ่งมีผลเท่ากับเจ้าของลิขสิทธิ์ถูกห้ามโดยข้อห้ามในสัญญาอนุญาตมิ ให้ใช้สิทธิต่าง ๆ เหล่านั้นได้อีก
การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา 15(5) นี้ ผู้อนุญาตอาจจะอนุญาตบาง สิทธิก็ได้ และการอนุญาตนั้นอาจจะอนุญาตให้ใช้สิทธิในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 ปี

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์

สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์

Translate »