บทวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต

บทวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคต

บทสรุปผู้บริหาร ขนาดของตลาดบล็อกเชนโลกนั้น คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 2.3 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2021 (พ.ศ.2564) และประมาณ 339.5 ล้านดอลล่าสหรัฐ ได้มีการลงทุนลงใน บริษัทที่ทําธุรกิจบล็อกเชนในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ.2560) ที่ผ่านมา (Statista, 2018) จึงไม่เป็นที่ น่าประหลาดใจเมื่อตลาดบล็อกเชนได้ถูกยกให้เป็นเทคโนโลยีที่จะทําการปฏิวัติวงการโลกและ ทําการเปลี่ยนแปลงวิธีการดําเนินธุรกิจ ซึ่งคล้ายกับเมื่ออินเตอร์เน็ต หรือ โทรศัพท์มือถือสมาร์ท โฟนได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันบล็อกเชนถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางใน ธุรกิจการเงิน แต่การใช้บล็อกเชนนั้นก็ยังสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในหลายอุตสาหกรรม อย่างไม่มีข้อจํากัด
รายงานวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตระหนักถึงความสําคัญของบล็อกเชน ที่มี ความสามารถที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยได้ โดยอาศัยการศึกษาและวิเคราะห์ ข้อมูลจากสิทธิบัตรทั่วโลก เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ ต้องการจะปลดล็อคตัวเองจากปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ ด้วยการมุ่งเน้นและให้ความ สําคัญกับเศรษฐกิจที่ให้มูลค่าการตอบแทนสูงที่มีแรงขับเคลื่อนมาจากนวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ ในกลุ่ม 5 อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) และ อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) โดยที่สิทธิบัตรนั้นเป็นตัวบ่งชี้การเกิดขึ้นของนวัตกรรม สิทธิบัตร ที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนก็สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดโอกาสที่จะเติบโตของเทคโนโลยี และสามารถ นํามาวิเคราะห์เพื่อประเมินว่าเทคโนโลยีที่กําลังมีการเติบโตอยู่ในขณะนี้ ใครเป็นผู้เล่นหลักใน เทคโนโลยี และที่ไหนคือตลาดสําคัญ โดยที่สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะให้ภาพกว้างของสถานการณ์ โลกและเพื่อเป็นแนวทางสําหรับภาคธุรกิจไทยที่ประสงค์ที่จะนําเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ใน ธุรกิจของตนได้
ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 – 2018 (พ.ศ. 2550 – 2561) ได้มีการ ยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชนจากทั่วโลกเป็นจํานวนทั้งหมด 3,763 ฉบับ (ข้อมูล เดือนสิงหาคม ค.ศ.2018 (พ.ศ.2561)) โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวในแต่ละปี โดยที่สิทธิ บัตรส่วนใหญ่นั้นถูกยื่นจดในประเทศจีน ตามมาด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเกาหลีใต้ โดยในกลุ่มประเทศที่มีการยื่นจดมาก 10 อันดับแรกนั้น ประเทศจีนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม ต่อปี (Compound Annual Growth Rate, CAGR) สูงที่สุดที่อัตรา 430% ต่อปีระหว่างปี ค.ศ. 2014-2017 (พ.ศ.2557-2560) และผู้ขอถือสิทธิในสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ ก็เป็นผู้ขอถือสิทธิที่เป็นหน่วยงานสัญชาติจีนมากที่สุดเช่นกัน โดยที่ IBM บริษัทซอฟท์แวร์เจ้ายักษ์ ใหญ่สัญชาติอเมริกัน เป็นหน่วยงานที่มียอดการยื่นขอรับสิทธิบัตร ในกลุ่มนี้มากที่สุด ตามมาด้วยบริษัทบล็อกเชนจากประเทศ เกาหลีใต้ Coinplug และ บริษัท E-commerce จากประเทศ จีนอย่าง Alibaba ซึ่งผู้เล่นหลักเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่ มุ่งเน้นในด้านเทคโนโลยีหรือด้านการเงินอย่างใดอย่างหนึ่ง และ จากการวิเคราะห์พบว่าในกลุ่มผู้เล่นหลัก 10 อันดับแรก Coinplus, nChain Holdings และ MasterCard มีการวางกลยุทธ์ ในการยื่นจดสิทธิบัตรได้ครอบคลุมตลาดมากที่สุด ซึ่งเป็นการ เพิ่มโอกาสทางการทําธุรกิจให้บริษัทได้ แต่อย่างไรก็ตามหน่วย งานจากประเทศจีนส่วนมากก็ยังจะมุ่งเน้นการยื่นขอรับสิทธิบัตร ในประเทศจีนเท่านั้น ยกเว้น Alibaba ที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรใน ประเทศอื่น ๆ ด้วยนอกเหนือจากประเทศ จีน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร โดยรวมแล้วจะเห็นได้ ว่าสิทธิบัตรที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Privacy/Security และ Identity/Access Management เป็นสองกลุ่มเทคโนโลยีหลักที่ถูกยืน เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบล็อกเชนมากที่สุด โดย มี IBM และ Coinplug เป็นผู้ยื่นคําขอรับสิทธิบัตรหลักในกลุ่ม เทคโนโลยีนี้ ส่วนกลุ่ม Cross-Chain/Atomic Swap เป็นเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นมาใหม่ในด้านบล็อกเชน ซึ่งสิทธิบัตรในกลุ่มนี้ถูกยืนขอรับ สิทธิบัตรครั้งแรกในปี ค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) โดยส่วนใหญ่เป็นการ ยืนขอรับสิทธิบัตรในประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศ เกาหลีใต้ และประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าสิทธิ บัตรในกลุ่ม Smart Contract ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ใหม่ ที่มีอัตราการเติบโตสูงอยู่ในอัตรา 358% ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 2014-2017 (พ.ศ. 2557-2560) ส่วนในการนําเทคโนโลยีบล็อก เชนไปประยุกต์ใช้นั้น กลุ่มการธนาคาร การเงิน และเงินดิจิทัล เป็นกลุ่มการใช้ที่มีการยื่นคําขอสิทธิบัตรมากที่สุด ตามมาด้วย กลุ่มโลจิสติกส์ ในขณะที่กลุ่ม Internet of Things ที่เกี่ยวข้อง กับบล็อกเชนเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่เริ่มมีการยื่นคําขอจดสิทธิบัตร มาไม่นาน และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมที่ 283% ต่อปีใน ช่วงปี ค.ศ.2014-2017 (พ.ศ.2557-2560) ซึ่งผู้เล่นหลักอย่าง nChain Holdings และ China Unicom Group ก็มีสิทธิบัตร จํานวนหนึ่งในด้านนี้เช่นกัน

cr กรมทรัพย์สินทางปัญญา

Translate »