รับสืบทรัพย์บังคับคดี

รับสืบทรัพย์บังคับคดี

รับสืบทรัพย์ บังคับคดี

เจ้าหนี้รู้ยัง   จ้างทนายสืบทรัพย์ บังคับคดี  มีโอกาสได้เงินคืนมากกว่า

“หนี้สูญ”  คำนี้มันบาดใจเจ้าหนี้อย่างที่สุด  เงินหรือทรัพย์สินที่มีคนอื่นมาหยิบยืมไป  แล้วเกิดการชักดาบ หายเงียบเหมือนไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  แน่นอนว่าเจ้าหนี้ย่อมไม่อยู่เฉย  ต้องพยามยามเสาะแสวงหาหนทางและโอกาสที่จะทำให้ได้เงินในส่วนนี้คืน  แต่ถ้ามันไม่มีจริงๆ  ก็ยังมีอีกช่องทางในการได้มาซึ่งผลตอบแทนจากการปล่อยเงินกู้  นั่นคือการว่าจ้างทนายฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้ศาลเป็นคนช่วย  ถ้าลูกหนี้ผู้หายหน้าหายตาไปไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ตามข้อตกลง  ก็อาจจะต้องพึ่งอำนาจศาลในการยึดทรัพย์บังคับคดีกับลูกหนี้ตามกฎหมายต่อไป

การยึดทรัพย์บังคับคดี เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งสำหรับเจ้าหนี้ที่ต้องการได้เงินในส่วนของตัวเองคืน  ถ้าในกรณีการกู้แบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน  ย่อมง่ายในการยึดทรัพย์บังคับคดี เพราะมันจะมีผลบังคับใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว  แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันเจ้าหนี้สามารถสืบทรัพย์ และร้องขอต่อศาลให้มีการยึดทรัพย์ได้เช่นกัน  แต่ในกรณีหลังมันไม่ได้ง่ายดายเหมือนไฟแนนซ์ยึดรถ เพราะมันมีเงือนไขอื่นๆเข้ามาประกอบด้วยมากมาย

การว่าจ้างทนายสืบทรัพย์บังคับคดี  เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในกรณีดังกล่าวข้างต้น  หลายคนมอง ว่าเจ้าหนี้ก็แค่ยึดทรัพย์  ไม่ว่าลูกหนี้จะมีสมบัติอะไร  เจ้าหนี้ก็บุกเข้าไปยึดเอามาเป็นของตนเองได้เลยโดยไม่ต้องไปฟ้องศาลให้เสียเวลา เสียค่าทนาย  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  การกระทำแบบนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย  ไม่ต่างอะไรกับโจรปล้น  ถ้าเจ้าหนี้ไม่อยากถูกตราหน้าว่าเป็นโจร  หรือเป็นคนขี้โกง  การว่าจ้างทนายฟ้องศาล  และสืบทรัพย์บังคับคดี  เป็นการกระทำภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายโดยผู้มีความรู้ด้านนี้โดยตรง  อีกทั้งทนายที่ดีและเก่งจะเป็นคนชี้ให้เจ้าหนี้ได้เห็นถึงความคุ้มค่าในการสืบทรัพย์ ยึดทรัพย์ของลูกหนี้  เจ้าหนี้จะได้มาซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่คุ้มค่า  และให้ผลตอบแทนสูงสุด  ที่สำคัญการกระทำเหล่านี้ยังชอบด้วยกฎหมายอย่างไม่ต้องมีข้อกังขา  เพราะคนที่เจ้าหนี้ว่าจ้างเป็นทนายซึ่งเป็นผู้รู้กฎหมาย  และวิธีการใช้กฎหมายเพื่อให้มีผลดีที่สุดกับลูกความซึ่งในกรณีนี้ก็หมายถึงเจ้าหนี้นั่นเอง

ทนายที่ทวงนี้และสืบทรัพย์บังคับคดีแทนลูกความของตน  เมื่อปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทุกประการ  แม้แต่กฎหมายทวงหนี้ฉบับใหม่ก็ยังมีระบุตอนท้ายให้ทนายทำงานได้ง่ายขึ้นว่า  ไม่รวมถึงการทวงหนี้ของทนายซึ่งกระทำแทนลูกความของตน  ด้วยการระบุในตัวกฎหมายแบบนี้นี่เอง  จึงเป็นการบอกให้เราทราบกลายๆ ว่าทนายสามารถทำอะไรกับลูกหนี้ตัวร้ายได้มากกว่าเจ้าหนี้ทำเอง  นั่นอาจหมายรวมถึงการทวงหนี้และการสืบทรัพย์บังคับคดีในแบบที่พิเศษกว่าคนธรรมดา  แต่ก็ยังชอบด้วยกฎหมายอยู่ดี  สิ่งเหล่านี้ขอบอกว่ามันเป็นเรื่องเฉพาะทางจริงๆ  ทนายย่อมรู้ดีว่าอะไรทำได้  อะไรทำไม่ได้ อะไรควรทำ หรืออะไรไม่ควรทำ ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดของเจ้าหนี้ คือการว่าจ้างทนายเก่งๆ ซักคนที่เชื่อถือได้  ยิ่งเชี่ยวชาญเฉพาะทางนี้รับรองได้ว่าเงินทองของเจ้าหนี้จะไม่สูญเปล่าไปกับสายลมอย่างแน่นอน

บริษัท ทนายไซเบอร์ จำกัด ให้บริการรับสืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษาของศาล สืบ หาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ สืบหาธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน หุ้น หรือหลักทรัพย์ของลูกหนี้ สืบหาบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ สามีหรือภริยาของลูกหนี้ เพื่อดำเนินการยึดหรืออายัดเงินหรือทรัพย์สินของลูกหนี้ออกขายทอดตลาดและนำ เงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป (ศาลตัดสินคดีแล้ว)

(1.) การสืบทรัพย์บังคับคดี มีขั้นตอนดังนี้

1.1 ขั้นตอนการสืบทรัพย์ของลูกหนี้

ทนายนำส่งคำบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาและออกหมายตั้งเจ้าพนักงาน บังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมคัดถ่ายคำพิพากษาของศาล (รับรองสำเนา),คำบังคับ,หมายบังคับคดีของศาลเพื่อประกอบการยึดทรัพย์ของจำเลยต่อไป

1.1.1 สืบหาเงินในบัญชีลูกหนี้หรือตัวแทนลูกหนี้ตามบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือลูกหนี้มีหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หรือฉลากออมสินอยู่ที่ใดหรือไม่

1.1.2 สืบหาว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ของลูกหนี้หรือไม่ เช่น ลูกหนี้มีลูกหนี้อื่นที่ต้องชำระเงินแก่ลูกหนี้หรือไม่ (ลูกหนี้ของลูกหนี้) เพื่อที่เจ้าหนี้จะได้ดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องของ ลูกหนี้ตามกฎหมายต่อไป

1.1.3 สืบหาว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินที่เป็น สังหาริมทรัพย์หรือไม่ เช่น รถยนต์, ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สำนักงาน, เครื่องจักร เป็นต้น

1.1.4 สืบหาว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินที่เป็น อสังหาริมทรัพย์หรือไม่ เช่น ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง, อาคาร, สำนักงาน เป็นต้น

1.1.5 สืบหาว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอันมีมูลค่าหรือไม่ เช่น ลูกหนี้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์, สิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า เป็นต้น

1.1.6 สืบหาทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินให้กับบุคคลอื่นในระหว่างที่เป็น หนี้เจ้าหนี้หรือไม่ เช่น ลูกหนี้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้กับบุคคลอื่นโดยมีเจตนาไม่ยอมชำระ หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ทั้งนี้ เพื่อเจ้าหนี้จะได้ดำเนินการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้โอนทรัพย์สินให้ กับบุคคลอื่น หรือฟ้องลูกหนี้ในข้อหาโกงเจ้าหนี้ตามกฎหมายต่อไป

1.2 ขั้นตอนการบังคับคดีลูกหนี้

เมื่อสืบทรัพย์พบทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 2. แล้ว ทนายจะต้องดำเนินการบังคับคดี ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

1.2.1 กรณีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็น สังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์, เครื่องจักร, เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ ทนายจะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปยึดทรัพย์สินดังกล่าว ณ สถานที่ทรัพย์ตั้งอยู่ และจะดำเนินการนำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้ แก่เจ้าหนี้ต่อไป

1.2.2 กรณีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง, อาคาร, สำนักงาน ฯลฯ ทนายจะคัดถ่ายเอกสารจากสำนักงานที่ดิน พร้อมทำแผนที่ ถ่ายรูป ราคาประเมิน นำมาตั้งเรื่องยึดทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้ดำเนินการขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ต่อไป

1.2.3 กรณีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็น บัญชีเงินฝากธนาคาร เช่น ลูกหนี้ฝากเงินไว้กับธนาคารใดธนาคารหนึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการอายัดเงินดังกล่าวโดยส่งหนังสือไปยังธนาคารให้ นำส่งเงินให้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้เจ้าหนี้มารับเงินต่อไป

1.3 ขั้นตอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้

ในการขายทอดตลาดจะเป็นการขายทรัพย์สินของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะ ต้องมีการประมูลขาย การต่อสู้ราคา การคัดค้านราคาขายของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวทนายมีหน้าทีเป็นผู้ดูแลการขายทอดตลาดเพื่อไม่ให้ เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบในการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ และรักษาผลประโยชน์ของเจ้าหนี้อย่างเต็มที่ เป็นต้น

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 086-0676078 หนุ่ม

business_noom@hotmail.com

copyri.com@gmail.com

line        chokdeeonline

facebook.com/copy8

Translate »