ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้ เงื่อนไขดังต่อไปนี้

ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้ เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยังมิได้โฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือ อยู่ในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่ง อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยตลอดระยะเวลา หรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
(2) ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้ กระทําขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้ม ครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้ กระทํานอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการ คุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวใน ราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ใน (1) ในขณะที่มีการโฆษณางาน ครั้งแรก
Bcc 1979 Aut. 4
The protection of this Convention shall apply, even if the conditions of Article 3 are not fulfilled, to:
(a) authors of cinematographic works the maker of which has his headquarters or habitual residence in one of the countries of the Union;
(b) authors of works of architecture erected in a country of the Union or of other artistic works incorporated in a building or other structure located in a country of the Union.

กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
เมื่อพิจารณาเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 กฎหมายวางหลักไว้เป็น 3 กรณี หรือ 3 เงื่อนไขหลักดังนี้
1. ผู้สร้างสรรค์ต้องมีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศภาคี อนุสัญญากรุงเบอร์น (The Berne copyright Convention) และถ้านิติบุคคลเป็นผู้ สร้างสรรค์นิติบุคคนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
2. อยู่ในราชอาณาจักร หรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่า ด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตลอดเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
เงื่อนไขตาม (1) หรือ (2) ใช้สําหรับกรณีที่ไม่มีการโฆษณางานที่สร้าง
สรรค์ขึ้น
3. กรณีงานที่ได้มีการโฆษณาแล้วการโฆษณานั้นครั้งแรกได้กระทําใน ประเทศไทยหรือในประเทศภาคีแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์น หรือกรณีที่การโฆษณา กระทําครั้งแรกนอกประเทศไทยหรือนอกประเทศภาคีอนุสัญญากรุงเบอร์น หากแต่ ได้มีการโฆษณาในประเทศไทยหรือประเทศภาคีอนุสัญญากรุงเบอร์นภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรกหรือผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะตามที่กําหนด ไว้ใน (1) ในขณะที่มีการโฆษณางานครั้งแรก
จากเงื่อนไขตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ทําให้ยากต่อการเข้าใจ และการจํา ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าหากกําหนดเงื่อนไขใหม่เพื่อง่ายต่อการเข้าใจและช่วย การจํา น่าจะแยกออกได้เป็น 3 เงื่อนไขดังนี้
1. หลักสัญชาติ กล่าวคือจะเป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือสัญชาติของ ประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาเบอร์นก็ถือว่ามีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

2. หลักแหล่งที่สร้างสรรค์งานหรือแหล่งที่ก่อให้เกิดงาน หากมีการ สร้างสรรค์งานส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ขณะอยู่ในประเทศไทยหรือประเทศภาคีแห่ง อนุสัญญากรุงเบอร์นถือว่ามีลิขสิทธิ์
3. หลักการโฆษณางานครั้งแรก กล่าวคือได้มีการโฆษณางานครั้งแรกใน ราชอาณาจักรไทยหรือในประเทศภาคีแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์น หรือการโฆษณางาน ครั้งแรกกระทํานอกราชอาณาจักรไทยหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา กรุงเบอร์น แต่ได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักรไทยหรือในประเทศที่ เป็นภาคีแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้ง แรก ถือว่าเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์
จากหลักดังกล่าวจะเรียกว่า หลักสัญชาติ และหลักดินแดนก็ได้ โดยหลักดิน แดนแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ แหล่งก่อให้เกิดงานหรือสร้างสรรค์งานและการโฆษณา งานที่ทําเป็นครั้งแรก
อนึ่ง หลักสัญชาตินั้นในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ และการได้มาซึ่ง ลิขสิทธิ์ผู้สร้างสรรค์ต้องมีสัญชาติไทย นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทย
ปัญหาที่น่าจะนํามาพิจารณาในประเด็นของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในฐานะผู้ สร้างสรรค์ตามมาตรา 8 นี้ หากเป็นการสร้างสรรค์ร่วม และผู้มีสร้างสรรค์คนหนึ่ง คนใดขาดคุณสมบัติหรือไม่มีลักษณะหรือการสร้างสรรค์ไม่เป็นไปตามหลักการได้มา ซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ ตามมาตรา 8 ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร
2.2 การได้ลิขสิทธิ์โดยการจ้างทําของ การสร้างสรรค์ของผู้สร้าง สรรค์ในฐานะผู้รับจ้างหรือโดยการรับจ้างบุคคลอื่น กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติหลักยก เว้นหลักมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ไว้ กล่าวคือกฎหมายกําหนด ให้ลิขสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ซึ่งบัญญัติ ไว้ดังนี้
“งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่นให้ผู้ว่าจ้าง เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่าง อื่น”
จากบทบัญญัติในมาตรา 10 ดังกล่าวหากมีการตกลงให้ลิขสิทธิ์เป็นของ ผู้สร้างสรรค์ก็สามารถทําได้ และผู้ว่าจ้างก็มีสิทธินํางานตามข้อตกลงในการจ้างไปใช้
ได้
2.3 การได้ลิขสิทธิ์โดยการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 9 แห่งพระราช บัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 บทบัญญัติแห่งมาตรา 9 นี้ กฎหมายกําหนดให้ลิขสิทธิ์เป็น ของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินํางานนั้นไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็น วัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงาน นับว่าเป็นการจํากัดสิทธิแต่ผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ งานอันเกิดจากการจ้าง ตามที่บัญญัติไว้ดังนี้
“งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ ทําเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่ นายจ้างมีสิทธินํางานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่ง การจ้างแรงงาน
อย่างไรก็ดีหากจะตกลงกันโดยทําเป็นหนังสือว่าให้ลิขสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่า จ้างก็ได้
2.4 การได้ลิขสิทธิ์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กล่าวคืองานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้าง หรือตามคําสั่งหรือในความควบคุมของหน่วยงานของรัฐกฎหมายกําหนดให้ลิขสิทธิ์ ตกเป็นของหน่วยงานรัฐ เว้นแต่จะได้มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์ อักษร ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นหลักการได้ลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์อีกอย่างหนึ่ง ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ดังนี้”กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น ย่อมมี ลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้าง หรือตามคําสั่ง หรือในการควบคุมของ ตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร (11)
1 ฎีกา 2750/2537
(1) ข้อเท็จจริง “โจทก์รวบรวมคําที่ใช้อยู่ในภาษาไทยแล้วจัดเรียงตามตัวอักษร ให้ความ รู้เรื่องอักขรวิธี บอกเสียงอ่านและนิยามความหมาย ตลอดจนประวัติของคําขึ้น เรียกว่า พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ต่อมาโจทก์ปรับปรุงขึ้นใหม่เรียกว่า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 โดยมีภาพประกอบนิยาม ภาพประกอบลายเส้น และภาพประกอบลายไทยท้ายเล่ม การดําเนินการของโจทก์ ดําเนินการโดยคณะกรรมการ และ ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อหาข้อยุติทางภาษา และตัดคําโบราณที่ไม่ใช้หรือใช้น้อยออก และจัดเรียง ลําดับตามตัวอักษร โดยประชุมค้นคว้าถกเถียงกันประมาณ 1,200 ครั้ง ใช้เวลา 17 ปี พจนานุกรม ฉบับ พ.ศ.2493 จึงแล้วเสร็จ ต่อมาได้ดําเนินการแก้ไขโดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อ คําเนินการและใช้เวลาประมาณ 3 ปี โดยประชุมกันประมาณ 200 ครั้ง จึงแล้วเสร็จเป็น พจนานุกรม ฉบับพ.ศ. 2525
(2) ประเด็นอํานาจฟ้องของโจทก์ ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มีอํานาจฟ้อง “โดยให้เหตุผลตาม คําสั่งคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 โดยแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้ โจทก์เป็นหน่วยงานอิสระ ไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรม และให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา โจทก์จึงเป็นนิติบุคคล จําพวก ทบวงการเมือง ตาม ป.พ.พ. และตามระเบียบการของราชบัณฑิตสถาน กําหนดให้นายกราช บัณฑิตสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตสถาน ซึ่งเป็นนิติบุคคล นายกราชบัณฑิตสถานจึงมีอํานาจ ฟ้องคดีได้โดยตรง โดยไม่จําต้องขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อน
(3) ประเด็นการเป็นผู้สร้างสรรค์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 4 (ปัจจุบันใช้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 มาตรา 4) ศาลได้ให้ความเห็นไว้ดังนี้

ปัญหาการจ้างโดยคําสั่งหรือในความควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐ ตาม มาตรา 14 หรือการจ้างแรงงานหรือจ้างทําของตามมาตรา 9 และมาตรา 10 หากผู้ รับจ้างหรือลูกจ้างที่สร้างสรรค์งานนั้น มิได้มีลักษณะการสร้างสรรค์ที่เป็นไปตาม มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 รัฐหรือหน่วยงานของรัฐ หรือเอก ชนที่ว่าจ้างทําของตามมาตรา 10 หรือการมีข้อตกลงเป็นหนังสือให้ลิขสิทธิ์ตกเป็น ของผู้ว่าจ้างตามมาตรา 9 ก็ดี ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร
2.5 การได้ลิขสิทธิ์โดยการรับโอน การได้ลิขสิทธิ์โดยการรับโอนโดย ทั่วไปซึ่งอาจจะเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนเช่นการซื้อขาย หรือการโอนให้โดย เสน่หาย่อมทําได้ เพราะลิขสิทธิ์ยอมโอนแก่กันได้ ตามบทบัญญัติมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ได้บัญญัติไว้ดังนี้ (12)
“การจะเป็นผู้สร้างสรรค์นั้น ความสําคัญมิได้อยู่ที่งานที่อ้างว่าได้สร้างสรรค์ขึ้น เป็นงานใหม่ หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าบุคคลผู้นั้นได้ทําหรือก่อให้เกิดงานโดยได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะในการสร้างสรรค์และงานดังกล่าวมีที่มาหรือต้นกําเนิดจากบุคคลนั้น โดยบุคคลนั้นมิได้ คัดลอกหรือทําซ้ําหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิอื่น จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ทําหรือก่อให้เกิดงาน จึงเป็นผู้สร้างตามกฎหมาย”
(4) ประเด็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 12 (ปัจจุบัน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 14) โดยศาลได้ให้ความเห็นไว้ดังนี้
“แม้ว่าโจทก์ได้จัดทําพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. 2525 ขึ้นตามมติคณะ รัฐมนตรี และคําสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา แต่โจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเท่าเทียม กรม โจทก์ย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในความควบคุมของตนเพราะมิได้ตกลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น” 1 ฎีกา 7822/2542 เมื่อมีการ โอนลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้รับโอนโดยถูกต้องตามกฎหมายและทั้งเป็นการ โอนให้ทุกสิทธิ์โดยเด็ดขาดตลอดอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว ผู้รับโอนย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และมีสิทธิ์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 15 ภายหลังการโอน ผู้โอนทําหนังสือ

ลิขสิทธิ์ยอมโอนแก่กันได้
เจ้าของลิขสิทธิ์อาจโอนสิทธิของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคล อื่นได้ และจะโอนโดยมีกําหนดเวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้
การโอนลิขสิทธิ์ตามวรรคสองซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทําเป็นหนังสือ ลงลาย มือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ถ้ามิได้กําหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาโอน ให้ถือว่าเป็นการ โอนมีกําหนดระยะเวลาสิบปี
การโอนโดยผลของสัญญาตามมาตรา 17 นี้ นับว่าเป็นการได้มาโดยทาง นิติกรรม ลักษณะการโอนและข้อกําหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการโอนลิขสิทธิ์ เจ้า ของลิขสิทธิ์อาจโอนลิขสิทธิ์ของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ทั้งนี้ก็เพราะว่าลิขสิทธิ์ ประกอบไปด้วยสิทธิหลายอย่าง เช่น ทําซ้ํา ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือ การให้เช่าต้นฉบับ หรือสําเนางานบางอย่างเช่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายกําหนดอายุแห่ง การคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งจะมีระยะเวลาแห่งการคุ้มครองที่แตกต่างกันไป เช่น ศิลป ประยุกต์มีอยู่เพียง 25 ปี นับแต่ได้มีการสร้างสรรค์ขึ้นหรือนับแต่มีการนํางานออก โฆษณาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์เป็นต้น เพราะ ฉะนั้นการโอนอาจโอนให้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือจะโอนให้เพียงหนึ่งปี ก็ได้ แต่หากมิได้กําหนดระยะเวลาไว้ในสัญญาโอนกฎหมายให้ถือว่าเป็นการโอนมี กําหนดระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคท้าย
มอบอํานาจให้นายแดง เพื่อให้นายแดงอนุญาตให้บุคคลอื่นอีก ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ รับโอนซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว
ฎีกา 8584/2542 สิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีลักษณะเป็นสิทธิ์ที่ไม่สามารถ แบ่งแยกได้ เพราะมิใช่สิทธิ์ในวัตถุมีรูปร่าง ที่สามารถแบ่งส่วนออกจําหน่ายได้ การโอนสิทธิ์ดัง กล่าวจึงต้องได้รับยินยอมจากผู้ทรงสิทธิ์ร่วม

การโอนลิขสิทธิ์กฎหมายกําหนดให้ต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและ ผู้รับโอน
2.6 การได้ลิขสิทธิ์โดยทางมรดก การรับโอนลิขสิทธิ์โดยทางมรดกนี้ก็ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งอาจจะรับมรดก ลิขสิทธิ์ในฐานะทายาทโดยธรรม หรือรับโอนมาโดยทางพินัยกรรม เพราะลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้ตาย
2.7 การได้ลิขสิทธิ์มาโดยการควบบริษัท ตามบทบัญญัติประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1243 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
“บริษัทใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดาที่มีอยู่แก่บริษัทเดิม อันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น”
เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 วรรคท้ายซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้ “การโอนลิขสิทธิ์ตามวรรคสองซึ่งมิใช่ทาง มรดกต้องทําเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน” ทําให้เข้าใจได้ว่าลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของบริษัทที่ควบเข้ากันนั้นมิได้โอนไปยังบริษัทใหม่ที่เกิด จากการควบบริษัท แต่ผู้เขียนมีความเห็นว่าลิขสิทธิ์ยอมโอนไปยังบริษัทใหม่เมื่อมี การควบบริษัท เพราะเป็นการโอนทรัพย์สินโดยผลของกฎหมายอย่างหนึ่ง
2.8 การได้ลิขสิทธิ์โดยการรวบรวม13) การรวบรวมงานอันมีลิขสิทธิ์ และกฎหมายยอมรับถึงการมีลิขสิทธิ์ของผู้รวบรวมหรือประกอบเข้ากัน ลักษณะของ

การรวบรวมอันก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์แก่ผู้รวบรวมนั้น การรวบรวมต้องเป็นการ กระทําที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ความรู้ความสามารถอันแสดงให้เห็นถึงการใช้สติ ปัญญาความสามารถ หากเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์ต้องเป็นการรวบรวมหรือประกอบเข้า กันโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 12 ดังนี้
“งานใดมีลักษณะเป็นการนําเอางานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มารวบรวม หรือประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือเป็น การนําเอาข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่านหรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกล หรืออุปกรณ์อื่นใดมารวบรวม (14) หรือประกอบเข้าด้วยกัน หากผู้รวบรวมหรือ ประกอบเข้ากันได้รวบรวม หรือประกอบเข้ากันซึ่งงานดังกล่าวขึ้นโดยการคัดเลือก หรือจัดลําดับในลักษณะซึ่งมิได้ลอกเลียนงานของบุคคลอื่น ให้ผู้ที่รวบรวมหรือ ประกอบเข้ากันนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่รวบรวมหรือประกอบเข้ากันตามพระราชบัญญัติ นี้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่มีอยู่ในงานหรือข้อมูลหรือสิ่ง อื่นใดของผู้สร้างสรรค์เดิม ที่ถูกนํามารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน”
2.9 การได้ลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลง โดยได้อนุญาตจากเจ้าของ ลิขสิทธิ์ ผู้ดัดแปลงจึงมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 11 ดังนี้

“งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัด แปลงตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มี อยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง”
การดัดแปลง รวบรวมหรือประกอบเข้ากันซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 11 หรือ 12 ทําให้ผู้รวบรวมหรือดัดแปลงหรือประกอบเข้ากันมีลิขสิทธิ์ในงานดัง กล่าวเป็นอิสระจากงานเดิมแต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของ ลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิม
ปัญหาเกี่ยวกับงานดัดแปลง เช่นงานแปล แม้ผู้แปลจะมีลิขสิทธิ์ในงาน แปลเป็นอิสระจากงานเดิมหากแต่มีการพิมพ์ออกจําหน่ายโดยสํานักพิมพ์ ผู้พิมพ์ ออกจําหน่ายต้องขออนุญาตจากผู้แปลแต่เพียงผู้เดียว หรือต้องขออนุญาตจากเจ้า ของลิขสิทธิ์ในงานเดิมด้วย )
กรณีสําหรับงานที่ดัดแปลงตามมาตรา 11 หรืองานที่รวบรวมหรือ ประกอบเข้ากันตามมาตรา 12 นั้น บทบัญญัติมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ

cr http://e-book.ram.edu

ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้ เงื่อนไขดังต่อไปนี้

ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้ เงื่อนไขดังต่อไปนี้

Translate »