วิวัฒนาการด้านกฎหมายเครื่องหมายการค้าไทย

วิวัฒนาการด้านกฎหมายเครื่องหมายการค้าไทย

ในส่วนของการพัฒนากฎหมายเครื่องหมายการค้า ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าประเทศไทยนั้นเป็นสังคมกสิกรรม ซึ่งในยุคแรกเริ่มก็มีเพียงการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน โดยอาจมีการประทับตราสัญลักษณ์ไว้กับตัวสินค้าเพื่อ เป็นการแสดงถึงความเป็นเจ้าของสินค้า แต่ก็ยังไม่ชัดแจ้งว่า สัญลักษณ์นั้น จะเป็นเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่ จวบจนกระทั่งเริ่มมีพ่อค้าชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำ การค้าขาย ในประเทศไทย การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจึงมีมากขึ้น บทบาทของเครื่องหมายการค้าในเวลานั้นยังไม่มีความ เด่นชัดมากไปกว่าการนำ มาตราสัญลักษณ์มาเป็นสัญลักษณ์ บ่งบอกถึงแหล่งกำ เนิดของสินค้าว่าเป็นสินค้าของผู้ใด

การติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวต่างชาตินั้นมีมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่การ ค้าขายกับต่างชาติมีความเพื่องฟูถึงขนาดมีการจัดเรือสำ เภา บรรทุกของไปขายยังต่างประเทศ จนกระทั้งปี พ.ศ. 2457 ประเทศไทยจึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะ เครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 (LAW ON TRADEMARK AND TRADENAME B.E 2457) ซึ่ง นับได้ว่าเป็นกฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับแรกของไทย โดยเนื้อหาของกฎหมายเน้นในเรื่องการรับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า แต่ไม่มีการกล่าวถึงแนวทางของ กฎหมายในกรณีที่มีการพิพาทเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าแต่ อย่างใด ผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเป็น เครื่องหมายแรกของประเทศไทย เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ ที่เข้ามาทำ การค้าขายในประเทศไทย

แต่เมื่อการค้าขายเจริญขึ้น พ่อค้าผู้เป็นเจ้าของ เครื่องหมายการค้าจำ เป็นต้องได้รับความคุ้มครอง จากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากมีการ แข่งขันระหว่างกันมากขึ้น ประเทศไทยจึงได้พัฒนาระบบ กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าขึ้นคือ “พระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474” พระราชบัญญัติ ดังกล่าวเป็นการนำ เนื้อหาเกี่ยวกับการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้ามาจากกฎหมายของประเทศอังกฤษคือ “TRADEMARK ACT 1905” มาใช้ กฎหมายฉบับนี้ได้ มีการแก้ไขอีกสองครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการอุทธรณ์ และครั้งที่สอง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 โดยเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2476 และ กำ หนดให้มีคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าขึ้นเป็นครั้งแรก

หลังจากที่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาเป็นระยะเวลานาน สภาพเศรษฐกิจเริ่มขยายตัว และเจริญขึ้นตามลำ ดับ จากเดิมที่มีการใช้เครื่องหมายการค้า กับตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว ก็เริ่มมีธุรกิจบริการขึ้นเพื่อ ให้บริการด้านต่างๆ กับผู้คนในสังคม การคุ้มครองธุรกิจ บริการจึงมีความจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมาย ดังนั้นจึงได้มีการเสนอยกเลิกพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 และ ตราพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ขึ้น มาใช้โดยบัญญัติให้มีการคุ้มครองเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม อีกทั้งกำ หนด อำ นาจหน้าที่ของนายทะเบียนผู้พิจารณาการรับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า รวมตลอดจนถึงกำ หนดสิทธิของผู้จดทะเบียนอย่างชัดเจน และเมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสมาชิกขององค์การ การค้าโลก ทำ ให้มีพันธะกรณีที่จะต้องออกกฎหมายอนุวัต ิการให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade – Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPs) จึงได้ มีการตราพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่ บังคับใช้จนถึงปัจจุบัน โดยมีการขยายขอบเขตความคุ้มครอง ไปถึงเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่างรูปทรงของวัตถุและ เครื่องหมายการค้าที่เป็นกลุ่มของสี และในอนาคตได้มีการ ยกร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าซึ่งจะทำ การแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าให้ครอบคลุมถึง เครื่องหมายการค้าที่จับต้องไม่ได้ คือ เครื่องหมายเสียงและ เครื่องหมายกลิ่น

Legislative Evolution of Trademarks in Thailand

As far as the legal development of trademarks law in Thailand is concerned, it has been previously explained that, in our early days, Thai economy rested upon agriculture and principally involved a barter system, under which some marks were stamped on products as an indication of ownership of such products. It has remained unclear as to whether such marks or logos functioned as trademarks per se. Later, the inflow of foreign merchants into Thailand brought about a rising number of commercial transactions. Yet, marks stamped on goods did not play any modern role; rather, they were merely used to indicate the origins and producers of the goods.

Trade with foreign merchants was actually in place since the Ayudhaya period. Later, in the Rattanakosin era, trade with foreigners so much prospered that goods were carried by sampans from Thailand for sale in foreign land. In 1914, the Act on Trademarks and Tradenames, B.E. 2457 (1914) was promulgated and indeed emerged as the very first trademark law of Thailand. This law, in its essence, dealt largely with registration of trademarks but contained no provisions on legal treatment of trademark disputes. The first trademark was, in effect, registered in the name of an English firm doing business in Thailand.

The prosperity of trade and greater competition prompted a need for owners of trademarks to have their marks protected through registration. As such, Thailand developed its legal schemes for the protection of trademarks, which emerged as the “Trademarks Act, B.E. 2474 (1931)”. The said Act adopted, by and large, legal concepts concerning registration of trademarks as embodied in the English “Trademarks Act 1905”. This Thai law was amended on two occasions – the first amendment was through the Trademarks Amendment Act, B.E. 2476 (1933) which amended appeal procedures and the second amendment was through the Trademarks Act (No. 3), B.E. 2504 (1961), which indeed repealed the Trademarks Amendment Act, B.E. 2476 (1933) and, for the first time, established the Trademarks Board.

After the Trademarks Act, B.E. 2474 (1931) was in use for a considerable length of time, economic circumstances of Thailand changed, with gradual growth and advancements. Trademarks were used not merely with goods but also with services made available to inhabitants in society. Much need thus arose for the legal protection to be afforded to services as well. This therefore led to a recommendation that the Trademarks Act (No. 3), B.E. 2504 (1961) be repealed and replaced by the new piece of legislation, viz, the Trademarks Act, B.E. 2534 (1991), which also provides for the protection of service marks, certification marks and collective marks. In addition, the new Act provides powers and duties of Registrars, who make the determination as to whether to approve registration of trademarks, and establishes the Trademarks Board. Further, it makes clear provisions as to rights of applicants. Following Thailand becoming a member of the World Trade Organisation (WTO), Thailand has become bound by emerging international obligations to enact legislation in the implementation of the Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPs). The Trademarks Act (No. 2), B.E. 2543 (2000) was thus enacted to make necessary amendment to the Trademarks Act, B.E. 2534 (1991) to the effect of such implementation. With such amendment, the trademarks law as in force at present extends the scope of protection to trademarks in the form of a shape or configuration of an object or a combination of colours. In effect, draft legislation has also been prepared in order to amend the current Trademarks Act to the effect of affording legal protection to intangible trademarks – audible signs and fragrances as well.

 

Translate »