แผนพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาของไทย
แผนที่นำทาง (Roadmap) ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ ระยะ 20 ปีสู่ประเทศไทย 4.0
1. ความเป็นมา ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 มีมติมอบกรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดทำโรดแมป (Roadmap) ด้านทรัพย์สิน ทางปัญญาของประเทศ โดยคำนึงถึงข้อสังเกตของที่ประชุม และจัดทำเป็นแผนระยะสั้น ระยะยาว เพื่อให้เกิด ความชัดเจนในการกำหนดนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา โดยให้ครอบคลุมเรื่องการส่งเสริม คุ้มครอง ปราบปราม และปลูกจิตสสำนึก และให้พิจารณาด้วยว่าจำเป็นต้องตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประเด็นทั้ง 4 ด้านอย่างไร หรือไม่ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและบูรณาการทำงานและให้คำนึงตั้งแต่ต้นทาง คือผู้ผลิต กลางทาง คือ ผู้ค้า ไปจนถึงปลายทางคือผู้บริโภค
2. การดำเนินการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดำเนินการจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ด้านทรัพย์สินทาง ปัญญาของประเทศ ระยะ 20 ปี ที่สอดรับกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และนโยบายสำคัญของรัฐบาล และได้จัดประชุมหารือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 17 หน่วยงาน1 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง พาณิชย์ (ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์) เป็นประธาน และได้นำความเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ มา ดำเนินการปรับปรุงแผนที่น าทาง (Roadmap) ด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้ครอบคลุมบทบาทภารกิจของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอในคราวการประชุมคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2559 โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 โดยที่ ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนที่นำทาง (Roadmap) ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยดังกล่าว และ มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และเป็นรูปธรรมอย่าง ต่อเนื่อง สรุปสาระสำคัญ ได้ ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้สอดรับกับนโยบายการ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและปัญญา เปลี่ยนจากการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตโดยลด ต้นทุนเป็นเน้นเรื่องเทคโนโลยี และเปลี่ยนจากผู้ประกอบการทั่วไปเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
2.2 องค์ประกอบ IP Roadmap ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 4 ด้านในวัฏจักรทรัพย์สินทาง ปัญญา (Intellectual Property Value Chain) คือ การสร้างสรรค์ (Creation) การคุ้มครอง (Protection) การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) และบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) และเพิ่มอีก 2 ด้าน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนและประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน คือ เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) และเรื่องทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources: GRs) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional Knowledge: TK) และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบ ดั้งเดิม (Traditional cultural expressions: TCEs)
2.3 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1) ด้ำนการสร้างสรรค์ (Creation)
ประเด็นปัญหา งานวิจัยสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของไทยยังไม่ประสบ ความสำเร็จในการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากโดย หลายปัจจัย เช่น นักวิจัยยังไม่ให้ความสำคัญกับการสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตรหรือทำ patent mapping ก่อน การวิจัย จึงทำให้งานวิจัยของคนไทยยังจดทะเบียนสิทธิบัตรได้น้อย (คิดเป็นอัตราส่วน 15:85 เมื่อเทียบกับ ต่างชาติที่ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทย) และงานวิจัยไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด เป็นต้น เป้าหมาย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในไทยที่สามารถตอบสนองความ ต้องการของตลาดได้มากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตระหนักในความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งมีระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ตลอดจนมีบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่เพียงพอ แผนการดำเนินงาน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา และทรัพยากรมนุษย์ด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์จัดให้มีมาตรการสนับสนุนการ สร้างสรรค์ และการเข้าถึงแหล่งทุนที่จะส่งเสริมการสร้างสรรค์และจัดตั้งศูนย์สนับสนุนการวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ตัวชี้วัดในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 เพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันโครงสร้าง พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และด้านเทคโนโลยี จัดโดย IMD จากปัจจุบันที่จัดให้โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ของไทยอยู่ในอันดับที่ 47 และด้านเทคโนโลยีอยู่ในอันดับที่ 42 เป็นให้อยู่ในลำดับ 1ใน 30
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวง อุ ต ส าห ก ร รม ก ร ะ ท ร วงศึ ก ษ า ธิ ก า ร ก ร ะ ท ร วงก า รค ลัง ก ร ะ ท ร วงพ าณิ ช ย์ (ก รม ท รัพ ย์ สิ น ทางปัญญา) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
2) ด้านการคุ้มครอง (Protection) ประเด็นปัญหา กรมทรัพย์สินทางปัญญามีคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาค้าง สะสมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้รับคำขอจดทะเบียนฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่ผ่านมามีจำนวนผู้ตรวจสอบ สิทธิบัตรและนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำกัด
เป้าหมาย เพื่อให้งานจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญามีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็น มาตรฐานสากล มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และใช้งานง่าย รวมทั้งมีระบบควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานของผู้ตรวจสอบและการจดทะเบียน
แผนการดำเนินงาน เพิ่มจำนวนและพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรนายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ปรับแก้ไขกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการ จดทะเบียน พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบบริหารจัดการการจดทะเบียน รวมทั้งปรับปรุงระบบ การทำงาน (Workflow optimization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจดทะเบียน การสร้างองค์ความรู้ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจ้างหน่วยงานภายนอกช่วยงานสนับสนุน และปฏิรูปกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เท่าทันสถานการณ์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
ตัวชี้วัดในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 จำนวนการยื่นคำขอจดสิทธิบัตรต่อจำนวน ประชากรของไทย (Patent application/no.of population) เพิ่มขึ้นจาก 3 เป็น 10 คำขอ/ประชากร 100,000 (สิงคโปร์ = 101 มาเลเซีย = 7.7)
ห น่ ว ยง าน รับ ผิ ด ช อ บ ก ร ะ ท ร วงพ าณิ ช ย์ (ก รม ท รัพ ย์ สิ น ท างปั ญ ญ า ) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และส านักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
3) ด้านการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์(Commercialization) ประเด็นปัญหา ผลงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ของไทยหลายกรณีไม่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เต็มที่ และนักวิจัย ผู้ประกอบการ SMEs และ Startup ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึง แหล่งเงินทุน เพื่อให้งานวิจัยสามารถตอบ สนองความต้องการของตลาด และใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เต็มที่ เป้าหมาย เพื่อให้งานวิจัยสามารถตอบสนองความต้องการของตลาด และใช้ประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์ แผนการดำเนินงาน จัดพื้นที่จับคู่ธุรกิจและแสดงสินค้านวัตกรรม และทรัพย์สิน ทางปัญญาทั้งในห้าง/งานแสดงสินค้า และออนไลน์การนำผลงานวิจัยไปขยายผลหรือพัฒนาต่อยอดให้ตรงตาม ความต้องการของตลาด และสนับสนุนการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา และใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็น หลักประกันธุรกิจ
ตัวชี้วัดในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ ดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยี (Technology balance of payment: TBP) จะต้องขาดดุลลดลง ร้อยละ 5 ต่อปี (ปีฐาน 2556) หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (สสว.) และเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.: สกว. สกอ. สวก. สวทช. สวทน. สวรส. และวช.) 4) ด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) ประเด็นปัญหา พบปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในไทยทั้งตามท้องตลาด บน อินเตอร์เน็ต รวมถึงการละเมิดสัญญาณเคเบิ้ลและสัญญาณดาวเทียม ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยเริ่ม ประสบปัญหาถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศที่ส่งออก เป้าหมาย เพื่อลดการละเมิดในพื้นที่การค้าและบนอินเทอร์เน็ต และให้ไทยหลุดจาก บัญชี PWL ตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ตลอดจนให้ทรัพย์สินทางปัญญาไทยได้รับการ คุ้มครองในต่างประเทศ แผนการด าเนินงาน บูรณาการปราบปรามการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมองค์ความรู้ด้าน การบังคับใช้กฎหมายแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาระบบฐานข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้านการบังคับใช้กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา และพัฒนามาตรการและกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทาง ปัญญาให้มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานสากล
ตัวชี้วัดในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ ลดและขจัดการละเมิดในพื้นที่ สีแดง/Notorious market โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้หมดไป หน่วยงานรับผิดชอบ ส านักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) กระทรวงพาณิชย์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) กระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม กระทรวงกลาโหม สำนักงานอัยการสูงสุด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ส านักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และสำนักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) 5) ด้ำนสิ่งบ่งชี้ทำงภูมิศำสตร์(Geographical Indication: GI) ประเด็นปัญหา ปัจจุบันไทยมีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 67 รายการ ใน 49 จังหวัด ยังขาดอีก 13 จังหวัด ที่ยังไม่มีการขึ้นทะเบียน GI เช่น กระบี่ นครสวรรค์ ก าแพงเพชร พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี และอีก 15 จังหวัด ยื่นคำขอแล้ว และอยู่ระหว่างกระบวนการขึ้นทะเบียน เช่น ปลากุเลาเค็มตากใบ นราธิวาส ส้มโอปูโกยะรัง ปัตตานี โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างประกาศโฆษณา หากไม่มีบุคคลใด
ยื่นคำคัดค้าน กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะดำเนินการรับขึ้นทะเบียน GI ได้ภายในเดือนกันยายน ศกนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตชุมชนยังขาดความเข้าใจไม่มีการควบคุมมาตรฐานคุณภาพการผลิต และไม่ทราบประโยชน์ ของการขึ้นทะเบียนที่จะช่วยยกระดับราคาสินค้า เป้าหมาย เพื่อให้ผู้ผลิต ชุมชนพื้นที่ ผู้บริโภค เข้าใจความสสำคัญของ GI และมีระบบ ควบคุมมาตรฐาน และรักษาคุณภาพสินค้า GI
แผนการดำเนินงาน ส่งเสริม สร้างความเข้าใจกับชุมชน และผู้ผลิต พัฒนาระบบการ ขึ้นทะเบียน GI ทั้งในและต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการตลาดสินค้า GI สร้างความเข้าใจผู้บริโภค ทั้ง ในประเทศ และต่างประเทศ ขยายการขึ้นทะเบียน GI ให้ครบ 77 จังหวัด ทำความเข้าใจผู้ผลิตชุมชน และจัดให้ มีระบบควบคุมมาตรฐาน และรักษาคุณภาพสินค้า GI ตัวชี้วัดในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยให้ ครบทุกจังหวัด (77 จังหวัด) จากเดิมที่มี 49 จังหวัด และขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละ 1 รายการ จากปัจจุบันมี 4 รายการ
หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงพาณิชย์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และส านักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) 6) ด้านทรัพยกรพันธุกรรม (Genetic Resources: GRs) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional Knowledge: TK) และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional cultural expressions: TCEs) ประเด็นปัญหา ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหาการลักลอบนำทรัพยากรพันธุกรรม การแสดงออกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการลักลอบของต่างชาติ อีกทั้ง ยังไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรม ระดับประเทศ
เป้าหมาย ไทยสามารถปกป้องคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น (TK) ทรัพยากรพันธุกรรม (GRs) และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (TCEs) จากการลักลอบนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม และ เพื่อให้เศรษฐกิจ สังคม และชุมชนได้ประโยชน์จากการนำ GRs, TK และ TCEs ของไทยไปพัฒนาต่อยอด แผนการดำเนินงาน พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนและส่งเสริมให้ หน่วยงานจัดทำฐานข้อมูล GRs, TK และ TCEs ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเป็นสากลที่สามารถเชื่อมต่อเป็น ฐานข้อมูลกลางระดับชาติที่มีประสิทธิภาพ และใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งผลักดันการจัดทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อให้มีการขออนุญาตก่อนใช้ การเปิดเผยแหล่งที่มาและแบ่งปันผลประโยชน์ตลอดจนส่งเสริมการ พัฒนาต่อยอด GRs, TK และ TCEs และน าเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ตัวชี้วัดในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 คือ มีระบบฐานข้อมูลกลางระดับชาติที่ เชื่อมโยงกับฐาน ข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 หน่วยงาน เพื่อให้เกิดการต่อยอดพัฒนาผลงาน และนำเข้าสู่ระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงมหาดไทย