ดูตะกร้าสินค้า เพิ่ม “ขายอนุสิทธิบัตรกาวดินน้ำมัน” ในตะกร้าเรียบร้อย
งานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต

งานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต

0ขายโดย

งานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต

 

งานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต

งานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต

งานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต Cryptocaryon irritans ระยะธีรอนต์ (theront) เพื่อกระตุ้น ภูมิคุ้มกันต่อโรคจุดขาวน้ำเค็มที่เกิดจากปรสิต C. irritans ในปลาการ์ตูน

  • คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1503001861 ยื่นคำขอวันที่ 21 ตุลาคม 2558

ที่มาของงานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิตข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

โรคจุดขาวน้ำเค็ม (Marine white spot disease) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปลาทะเล เกิดจากโปรโตซัว Cryptocaryon irritans โปรโตซัวชนิดนี้มีวงจรชีวิต ประมาณ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา เป็นเชื้อที่แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเซลล์สืบพันธุ์สามารถให้เซลล์ลูกได้จำนวนมาก โปรโตซัวจะเข้าไปเกาะและฝังตัวบริเวณเหงือกและลำตัวของปลาเป็นจำนวนมาก (Woo, P.T.K. 1995. Fish disease and disorder Vol. 1. CAB International, Wallingford. pp. 181-227) แล้วดำรงชีวิตโดยการดูดสารอาหารจากปลาทำให้ปลาตายในที่สุด การใช้เทคนิคการตรึงสารไว้ภายในเม็ดแคปซูลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ถูกนำมาใช้ในกระบวน การผลิตอาหารเพื่อที่จะตรึงสารที่สำคัญไว้ภายในแคปซูลและไม่ให้สารเหล่านั้นรั่วไหลออกมาจากเม็ดอาหารและละลายในน้ำก่อนเวลาที่ต้องการ ซึ่งขนาดและชนิดของอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตได้แตกต่างกันไปขึ้นกับความต้องการและเทคนิคการผลิต

 สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต

การประดิษฐ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของปลาการ์ตูนให้มีความต้านทานต่อโรคจุดขาวน้ำเค็ม โดยการใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของปรสิต C. irritans ระยะธีรอนต์ (theront) ที่ได้จากการเลี้ยงและทำให้ตายก่อนนำมาตรึงเซลล์เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของอาหารปลา เมื่อปลาการ์ตูนกินอาหารนี้จะทำให้ปลามีระดับของแอนติบอดีในซีรั่มเพิ่มขึ้น และจะมีความต้านทานต่อเชื้อปรสิต C. Irritans มีความต้านทานต่อการติดเชื้อ หรือลดความรุนแรงของการติดเชื้อ มีสุขภาพดี และสามารถเลี้ยงได้เป็นระยะเวลานาน ทำให้ลดปริมาณการใช้ยาหรือสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคจุดขาวน้ำเค็ม เช่น ฟอร์มาลีน (formalin) คอปเปอร์ซัลเฟต (copper sulphate) ควินิน (quinine) หรือคลอโรควิน (chloroquine) เป็นต้น

จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยการใช้สารเสริมอาหารโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการตรึงเซลล์ปรสิต

อาหารเสริมกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของปลาการ์ตูนให้มีความต้านทานต่อโรคจุดขาวน้ำเค็ม โดยการใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของปรสิต C. irritans ระยะธีรอนต์ (theront) ที่ได้จากการเลี้ยงและทำให้ตายก่อนนำมาตรึงเซลล์เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของอาหารปลา เมื่อปลาการ์ตูนกินอาหารนี้จะทำให้ปลามีระดับของแอนติบอดีในซีรั่มเพิ่มขึ้น และจะมีความต้านทานต่อเชื้อปรสิต C. Irritans มีความต้านทานต่อการติดเชื้อ หรือลดความรุนแรงของการติดเชื้อ มีสุขภาพดี และสามารถเลี้ยงได้เป็นระยะเวลานาน ทำให้ลดปริมาณการใช้ยาหรือสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคจุดขาวน้ำเค็ม เช่น ฟอร์มาลีน (formalin) คอปเปอร์ซัลเฟต (copper sulphate) ควินิน (quinine) หรือคลอโรควิน (chloroquine) เป็นต้นความร่วมมือที่เสาะหา

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

CR thailandtechshow

ข้อมูลติดต่อสอบถามงานวิจัย
ชื่อ นาย อดิเรก ล้อมวงษ์
อีเมล business_noom@hotmail.com
Facebook www.facebook.com/copy8
line Copyri.com

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Translate »