
งานวิจัยชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ
งานวิจัยชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 3825 เรื่อง ชุดทดสอบแอมโมเนียม
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 4476 เรื่อง ชุดทดสอบความเป็นกรดด่าง
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 4477 เรื่อง ชุดทดสอบความเป็นด่าง
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 4695 เรื่อง ชุดทดสอบไนไตรต์
ที่มาของงานวิจัยชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ
ในปี 2541 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโรคดวงขาวในกุ้งเลี้ยง สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดคือกุ้งอ่อนแอเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงมีคุณภาพไม่เหมาะสม คณะสัตวแพทยศาสตร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มอบหมายให้หน่วยชีวเคมีผลิตชุดตรวจคุณภาพน้ำที่ดี ราคาไม่แพง และใช้งานง่ายกว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด
หน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (Veterinary Biochemistry Unit, VBC) จึงได้ตั้งโครงการตรวจวัดคุณภาพน้ำขึ้นตั้งแต่ปี 2542 โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การผลิตชุดทดสอบคุณภาพน้ำที่เที่ยงตรง ใช้ง่ายและประหยัด เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำสามารถตรวจวัดคุณภาพของน้ำได้ง่ายๆและทุกๆวัน ซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงประเมินสภาพการเลี้ยงของตนและเตรียมการแก้ไขก่อนเกิดปัญหา ทั้งยังคงต้นทุนการผลิตเอาไว้
ปัจจุบัน หน่วยชีวเคมีได้ผลิตชุดตรวจคุณภาพน้ำให้กับเกษตรกรทั้งสิ้น 14 รายการ ได้แก่ pH, GH, pH และ GH สำหรับปลาสวยงาม, ความเป็นด่าง, ความกระด้าง, ออกซิเจนที่ละลายน้ำ, แอมโมเนีย, คลอรีน, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ซัลไฟด์, ไนไตรต์ และ ฟอสเฟต
สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ
ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ ที่เที่ยงตรง ใช้ง่าย และ ประหยัด
จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำ
• ใช้งานง่าย
• คำนวนง่าย
• ใช้ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
CR thailandtechshow
ข้อมูลติดต่อสอบถามงานวิจัย
ชื่อ นาย อดิเรก ล้อมวงษ์
อีเมล business_noom@hotmail.com
Facebook www.facebook.com/copy8
line Copyri.com