งานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

งานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

0ขายโดย

งานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

 

งานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

งานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

งานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1503002203 ยื่นคำขอวันที่ 25 ธันวาคม 2558

ที่มาของงานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

หุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนนั้นมีมากมายหลากหลายประเภท เช่น Bioliod Kit หรือ LEGO Mindstroms เป็นต้น โดยมักเน้นให้ผู้ใช้งานได้ทราบถึงพื้นฐานเทคโนโลยีหุ่นยนต์เบื้องต้น กระบวนการถอดประกอบ การโปรแกรมมิ่งหุ่นยนต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างง่าย เช่น เดินตามเส้นทางที่กำหนด หรือการใช้งานอุปกรณ์วัด (Sensor) ต่างๆ ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้มักออกแบบให้ใช้งานกับเด็กที่มีความปกติหรือผู้สนใจทั่วไป แต่ไม่ได้ถูกออกแบบให้เหมาะกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
หุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสารจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมุ่งตอบโจทย์การเป็นเครื่องมือเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ให้ทั้งเด็กปกติและเด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ โดยสามารถใช้ฝึกทักษะด้านการสื่อสารให้กับผู้ใช้ ทำให้ไม่เพียงแต่บุคคลทั่วไปหรือผู้ที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ สามารถใช้งานเพื่อศึกษาพื้นฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ยังสามารถนำไปต่อยอดการฝึกทักษะการสื่อสารได้อีกด้วย
โดยผู้ใช้สามารถนำชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร ไปใช้ในการเรียนรู้การถอดประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมควบคุมการเปิด-ปิดแผงไฟแอลอีดี (LED) ที่ได้ออกแบบไว้ให้สามารถใช้งานร่วมกับหุ่นยนต์ การจัดท่าทางของหุ่นยนต์ รวมถึงการบันทึกเสียงให้กับหุ่นยนต์และนำไฟล์เสียงนั้นบรรจุลงในกล่องสำหรับฝึกทักษะการสื่อสารเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปฝึกต่อในภายหลังทั้งในรูปแบบของการฝึกเดี่ยวหรือฝึกเป็นกลุ่ม
ชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร สามารถสร้างกิจกรรมเพื่อช่วยดึงดูดความสนใจ หรือจดจ่อให้กับเด็กที่มีความบกพร่องเช่น เด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม หรือเด็กออทิสติกได้ ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างกิจกรรมการฝึกเลียนแบบท่าทางอย่างง่าย กิจกรรมการเต้นประกอบเพลงของหุ่นยนต์ และกิจกรรมการฝึกทักษะการสื่อสารอื่นๆ เป็นต้น

 สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

ชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสารถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานกับเด็กปกติและเด็กที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ เช่น เด็กพิเศษ เด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรม เด็กที่มีความผิดปกติด้านการเรียนรู้ เป็นต้น โดยสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ด้านการถอดประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ การจัดท่าทางของหุ่นยนต์ รวมทั้งการบันทึกเสียงให้กับหุ่นยนต์และนำไฟล์เสียงที่ได้นั้นบรรจุลงในกล่องสำหรับฝึกทักษะการสื่อสารได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานเกิดความเพลิดเพลิน สนุก และจดจ่อต่อกิจกรรมมากยิ่งขึ้น

จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร

• ชุดหุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้สื่อสาร ประกอบด้วย หุ่นยนต์รูปร่างคล้ายมนุษย์ ชุดควบคุมหุ่นยนต์ซึ่งสามารถควบคุมให้มีการทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยหน้าต่างการใช้งาน GUI (Graphical User Interface) และกล่องสำหรับฝึกทักษะการสื่อสาร
• กล่องสำหรับฝึกทักษะการสื่อสาร สามารถบรรจุคำพูดของหุ่นยนต์ได้ตามต้องการ จึงเหมาะต่อการนำไปใช้กับเด็กที่ต้องการฝึกทักษะด้านการสื่อสารที่มีพื้นฐานแตกต่างกันไป

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

CR thailandtechshow

ข้อมูลติดต่อสอบถามงานวิจัย

ชื่อ นาย อดิเรก ล้อมวงษ์
อีเมล business_noom@hotmail.com
Facebook www.facebook.com/copy8
line Copyri.com

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Translate »