
งานวิจัยถ่านชีวภาพ(Biocoke)จากเศษวัสดุทางการเกษตร
งานวิจัยถ่านชีวภาพ(Biocoke)จากเศษวัสดุทางการเกษตร
องค์ความรู้
ที่มาของงานวิจัยถ่านชีวภาพ(Biocoke)จากเศษวัสดุทางการเกษตร
ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากความจำเป็นในการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และ Kinki University จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาถ่านชีวภาพ (Biocoke) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งจากเศษวัสดุทางการเกษตรและเศษวัสดุจากอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่ให้ความร้อนสูงเป็นระยะเวลานาน สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับถ่านหินเพื่อลดปริมาณหรือทดแทนการใช้ถ่านหินที่ก่อให้เกิดมลพิษ โดยคัดเลือกวัตถุดิบภายในประเทศที่มีความเหมาะสมประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีแหล่งชีวมวลจากภาคการเกษตรมากมาย จึงมีเศษวัสดุและสิ่งเหลือใช้จากการเกษตรกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรต่างๆ เช่น กากกาแฟ กากถั่วเหลือง กากมะพร้าว กะลาปาล์ม เศษไม้จากการแปรรูปไม้ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ฯลฯ รวมถึง เศษไม้ป่นจากไม้โตเร็วที่สามารถปลูกในประเทศไทย โดยไม่รบกวนพื้นที่การเกษตร เช่น กระถินยักษ์
สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยถ่านชีวภาพ(Biocoke)จากเศษวัสดุทางการเกษตร
จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยการตรวจสอบชิ้นงานด้วยภาพ
ถ่านชีวภาพ (Biocoke) ที่พัฒนาได้มีความแข็งแรงและทนทานสูงเหมาะสำหรับใช้งานในอุตสาหกรรม มีความหนาแน่นสูงช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บและขนส่ง ไม่มีของเสียเหลือจากการผลิต (100% conversion) เมื่อเกิดการเผาไหม้จะให้ค่าความร้อนสูงและเกิดมลพิษน้อย สามารถลดการเกิดคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ได้ถึง 20% เมื่อเทียบกับถ่านหินและไม่ทำให้เกิด SOx
– ถ่านชีวภาพ (Biocoke) เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่ผลิตได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ภายในประเทศ มีค่าความร้อนสูงและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
– เครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับผลิตถ่านชีวภาพระดับอุตสาหกรรม สามารถผลิตแบบต่อเนื่อง โดยสามารถทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติ (Automatic Mode) และควบคุมโดยผู้ใช้งาน (Manual Mode)
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
CR thailandtechshow