
งานวิจัยถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
งานวิจัยถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9506 เรื่อง สูตรผสมที่ใช้ในการผลิตถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงที่มีกากของเสียจากอุตสาหกรรมอลูมิเนียมเป็นส่วนผสม
ที่มาของงานวิจัยถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
เบ้าอลูมินาเป็นผลิตภัณฑ์วัสดุทนไฟที่สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูง จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญมากในกระบวนการผลิตที่ใช้ความร้อนสูงของอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น เหล็ก และเหล็กกล้า อัญมณี และเครื่องประดับ แก้ว เป็นต้น ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เบ้าอลูมินายังต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศปีละเป็นจำนวนมาก และมีราคาแพงประมาณ 500-1000 บาท/ถ้วย โดยข้อมูลจากกรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในปี 2555 ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟที่มีอลูมิน่าเป็นส่วนผสม (มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์) มีมูลค่ามากกว่า 196 ล้านบาท (กรมศุลกากร, 2556) ซึ่งเป็นการสูญเสียเงินตราออกต่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี
สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
สูตรที่ใช้ในการผลิตถ้วยทนไฟนี้ สามารถทนความร้อนได้สูงไม่น้อยกว่า 1400-1500 องศาเซลเซียส เพื่อทำไปใช้งานสำหรับหลอมแก้วหรืองานอื่นๆ ในลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นการผลิตถ้วยทนไฟที่มีเป้าหมายเพื่อทดแทนการนำเข้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟที่มีอลูมิน่าเป็นส่วนผสม นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าและลดปัญหาในการจัดการของเสียจากอุตสาหกรรมอลูมิเนียมในประเทศซึ่งมีปริมาณมาก โดยส่งเสริมให้มีการนำเอามาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการนำเข้าอลูมิน่าสำหรับผู้ผลิตถ้วยทนไฟ และเพิ่มมูลค่าของเสียสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอลูมิเนียมได้
จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยถ้วยทนไฟอุณหภูมิสูงผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม
ถ้วยทนไฟที่ผลิตจากกากของเสียอุตสาหกรรมอลูมิเนียม มีต้นทุนวัตถุดิบ 6.12 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถูกกว่าต้นทุนวัตถุดิบของถ้วยอะลูมิน่าในท้องตลาดมากถึง 85% มีความทนต่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงฉับพลันที่ 200 องศาเซลเซียส และนำใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงโดยไม่แตกร้าว ยุบตัว หรือหลอมละลาย และไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการนำไปใช้งานหลอมแก้วที่อุณหภูมิ 1450-1500 องศาเซลเซียส สามารถขึ้นรูปเป็นภาชนะหรือรูปร่างต่างๆ เพื่อการนำไปใช้งานอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ