งานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

งานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

0ขายโดย

งานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

 

งานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

งานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

งานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10386 เรื่อง เครื่องตรวจวิเคราะห์ปริมาณเหล็กในน้ำแบบพกพาด้วยวิธีการประมวลผลภาพถ่ายสีดิจิตอล
ลิขสิทธิ์

ที่มาของงานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

มีความต้องการที่จะพัฒนาเครื่องดิจิตอลอิมเมจเบสคัลเลอริมิเตอร์เดิมที่เคยได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ปี 2556 ให้มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง ใช้งานได้ง่าย ทันสมัยมากขึ้นและสามารถพกพาได้อย่างแท้จริงเนื่องจากมีน้ำหนักเบาลงถึง 5 เท่า อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและประมวลผลได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย

 สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

เครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวกนี้ เป็นเครื่องมือทดสอบสารตกค้างที่ทำให้เกิดสีได้ในอาหาร เครื่องสำอางค์ และยา ตัวเครื่องมีลักษณะเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา ราคาถูก และยังประมวลผลได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยแอพพลิเคชั่นในระบบ iOS ที่ติดตั้งไว้บน iPod touch โดยอาศัยหลักการของทฤษฎีระยะทางแบบยุคลิค ซึ่งเป็นการหาระยะทางปกติระหว่างจุดสองจุดในแนวเส้นตรงโดยทำการถ่ายภาพสารละลายที่ความเข้มข้นต่างๆ ที่มีสีไล่กัน แล้วทำการเก็บค่าสีทั้งหมด 7 ค่า (สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ค่าสีสัน ค่าความอิ่มตัวของสี ค่าความสว่าง และค่าสีเทา) ของแต่ละภาพไว้เป็นฐานข้อมูลสี จากนั้นเมื่อถ่ายภาพสีของสารละลายตัวอย่างแล้วแอพพลิเคชั่นจะสามารถประมวลผลออกมาเป็นความเข้มข้นได้ภายในเวลา 1 วินาที โดยเทียบกับฐานข้อมูลสีที่เก็บไว้ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถทดแทนเครื่องคัลเลอริมิเตอร์ที่มีขายตามท้องตลาดซึ่งมีราคาแพง

จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยเครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวก

เครื่องดิจิตอลอิมเมจคัลเลอริมิเตอร์ที่อาศัยไอพอดแบบพกพาสะดวกนี้ ใช้แอพพลิเคชั่นในระบบ iOS ที่ติดตั้งไว้บน iPod touch จึงทำให้สามารถใช้ทดแทนเครื่องวัดสีที่มีขายตามท้องตลาดได้โดยจะมีน้ำหนักที่เบากว่า ราคาถูกกว่า และประมวลผลได้รวดเร็วกว่า นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเช่น
1. กรมวิทยาศาสตร์บริการหรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ต้องการวิเคราะห์หาความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะที่มีสีเช่น เตตร้าไซคลิน หรือ ต้องการตรวจวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักเช่น เหล็ก โครเมียม ตะกั่ว แมงกานีสที่ตกค้างในแหล่งน้ำธรรมชาติ
2. ชาวสวนยางพาราหรือโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราที่ต้องการทราบปริมาณของโปรตีน และ ฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟตที่ตกค้างในน้ำยางพารา
3. บริษัทผลิตยาต่างๆ ที่มีห้องปฏิบัติการที่ต้องการวิเคราะห์หาความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะที่มีสีหรือยาที่สามารถฟอร์มสีได้
4. บริษัทผู้ส่งออกอาหารแช่แข็ง เช่น ปลา หรืออาหารทะเล สามารถนำเครื่องมือนี้ไปตรวจวัดสีของเนื้อสัตว์เพื่อตรวจดูอายุการเก็บของเนื้อสัตว์จากสีที่เปลี่ยนแปลงไปได้

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

CR thailandtechshow

ข้อมูลติดต่อสอบถามงานวิจัย

ชื่อ นาย อดิเรก ล้อมวงษ์
อีเมล business_noom@hotmail.com
Facebook www.facebook.com/copy8
line Copyri.com

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Translate »