การต่ออายุเครื่องหมายการค้าที่ใช้เป็นหลักประกัน

การต่ออายุเครื่องหมายการค้าในระหว่างที่นำเครื่องหมายการค้านั้นใช้เป็นหลักประกันตามโครงการแปลงทรัพย์สิน

ทางปัญญาเป็นทุนนั้น ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ

เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มาตรา 54 บัญญัติว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้าใดประสงค์จะต่ออายุการจด

ทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตน ให้ยื่นคำขอต่ออายุต่อนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่น

คำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นยังคงจดทะเบียนอยู่จนกว่านายทะเบียน

จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ฉะนั้น บุคคลที่จะต่ออายุเครื่องหมายการค้าที่ใช้เป็นหลักประกันได้คือ เจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือตัวแทนของ

เจ้าของเครื่องหมายการค้าเท่านั้น มีปัญหาว่า หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่นำเครื่องหมายการค้าใช้เป็นหลัก

ประกันไม่ยอมใช้สิทธิของตนในการต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งจะมีผลทำให้สถาบันการเงินจะต้องสูญเสีย

หลักประกันการให้กู้เงิน จะใช้สิทธิของลูกหนี้ไปขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่

กรณีนี้ตามระเบียบระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วยขั้นตอนและวิธีปฏิบัติตามโครงการแปลงทรัพย์สินทาง

ปัญญาเป็นทุน ประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2546 มิได้กำหนดกรณีดังกล่าวนี้ไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงตัวบท

กฎหมายเครื่องหมายการค้าแล้วผู้เขียนเห็นว่า สถาบันการเงินไม่มีอำนาจที่จะใช้สิทธิของลูกหนี้ต่ออายุ

เครื่องหมายการค้าได้ แม้ว่าจะมีสัญญาที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมไว้ก็ตาม ซึ่งต่างกับ

กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการยึดหรืออายัดเครื่องหมายการค้าไว้ สามารถใช้

สิทธิของลูกหนี้ในการขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าได้เพราะถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาลที่จะต้องรักษา

ไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยัดหรืออายัดไว้มิให้เกิดความเสียหายได้

โดยเหตุนี้ เครื่องหมายการค้าที่นำไปใช้เป็นหลักประกันตามโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน เมื่อครบ

กำหนดที่จะต้องใช้สิทธิต่ออายุ หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการใช้สิทธิต่ออายุทะเบียน

เครื่องหมายการค้าจนพ้นกำหนดเวลาที่จะต่ออายุทะเบียน นายทะเบียนจะจำหน่ายทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นออก

จากสารบบทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเตือนแจ้งสถาบันการเงินแต่อย่างใด

โครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจได้เข้าถึง

แหล่งเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้นำเงินมาใช้ในการประกอบธุรกิจอาชีพอย่างจริงจัง เท่าที่เห็นมา

เครื่องหมายการค้าบางเครื่องหมายเป็นเครื่องหมายการค้าที่เพิ่งได้รับการจดทะเบียน แต่สามารถนำไปใช้เป็นหลัก

ประกันการกู้เงินได้ เป็นที่น่าเสียดายว่า อนาคตต่อไปโครงการที่ดี ๆ เช่นนี้อาจจะต้องยกเลิกไป ทั้งนี้สถาบันการเงินที่

ยังคงปล่อยเงินกู้ตามโครงการนี้และได้บันทึกการเป็นหลักประกันอย่างสม่ำเสมอ คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาด

กลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ที่สำคัญประการหนึ่งของโครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนนี้ก็คือ จะต้องมีแผนธุรกิจนั่นเอง โดยการแสดงให้

สถาบันการเงินหรือธนาคารได้ทราบถึงแหล่งที่มาของรายได้ การตลาดของธุรกิจ รายจ่าย ๆ และทิศทางเดินทางธุรกิจ

ในอนาคตต่อไป ไม่มีเจ้าหนี้คนใดที่ปล่อยเงินกู้ให้กับบุคคลที่ไม่สามารถส่งคืนใช้เงินกู้ได้ ดังนั้นแผนธุรกิจจึงเป็น

ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ประกอบธุรกิจจะต้องมีและจัดทำขึ้น แม้ว่าจะไม่นำไปใช้ในการขอกู้เงินตามโครงการ

แปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนก็ตาม

 

Translate »