100ปีวิวัฒนาการเครื่องหมายการค้าไทย
เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทหนึ่งที่มีความสำ คัญต่อภาคธุรกิจและมีมูลค่า ใน ตัวเอง ดังตัวอย่างการประเมินมูลค่าแบรนด์ของสถาบัน ต่างๆ ในโลก สำ หรับประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครอง เครื่องหมายการค้า มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 โดยตรากฎหมาย ลักษณะเครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้า ซึ่งมีผลบังคับ ใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2457 และต่อมาได้มีการแก้ไข กฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอีกหลายฉบับ จึงนับได้ ว่าประเทศไทยมีการคุ้มครองเครื่องหมายการค้ามายาวนาน ถึง 100 ปีมาแล้ว
ระบบเครื่องหมายการค้าในประเทศในช่วงระยะเวลา อันยาวนานนี้ ได้มีการพัฒนาให้ทันต่อสภาพของเศรษฐกิจ และสังคมในประเทศไทยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ ทันต่อยุคสมัยนั้นๆ ตลอดจนต้องพัฒนาตามเทคโนโลยี ที่ทันสมัยในศตวรรษที่ 21 นี้ด้วยเช่นกัน และเนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรมมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล มาแล้ว จึงไม่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนแต่อย่างใดว่า เครื่องหมายการค้าได้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยเมื่อใด เพียงแต่สันนิษฐานได้ว่าเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
นั้นมีการพัฒนาขึ้นมาตามความเจริญทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ซึ่งเดิมเป็นสังคมของการแลกเปลี่ยนสินค้าแต่ เมื่อมีพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาทำ การค้าขายในประเทศ จึงเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมที่มีการซื้อขายด้วยการใช้เงิน จับจ่ายซื้อหาสินค้า การใช้เครื่องหมายการค้าจึงเริ่มต้นขึ้น เนื่องจากบรรดาพ่อค้าได้ทำ สัญลักษณ์เฉพาะติดกับสินค้า ของตน เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถจดจำ และแยกแยะออก ระหว่างสินค้าชนิดเดียวกันของตนเองและของพ่อค้าคนอื่น อีกทั้งยังเป็นการรับประกันถึงคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อ สินค้าไว้วางใจ และด้วยเหตุที่ว่าการใช้เครื่องหมายกาค้าใน ประเทศไทยมีการเริ่มต้นจากการค้าขายของพ่อค้าชาวต่างชาติ นี่เอง จึงทำ ให้ระบบเครื่องหมายการค้าของไทย เริ่มต้น พัฒนามาจากระบบเครื่องหมายการค้าของชาวตะวันตก
ระบบเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย จะมีการ พัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามความเจริญรุ่งเรือง ของแต่ละยุคสมัย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาองค์ประกอบของ การรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในทุกด้าน ทั้งในด้าน บทบัญญัติของกฎหมาย และการจัดเก็บข้อมูลเพื่อตรวจ สอบและจดทะเบียน
100-Year Evolution of Trademarks in Thailand
Trademarks constitute a type of intellectual property of great value to the business sector and indeed exhibit great value in itself, as envisioned, for example, from the evaluation of branding of institutions around the world. In Thailand, the protection of trademarks first emerged in 1914 in which the Act on Trademarks and Tradenames was enacted and became effective as from 1st October 1914. Later, many pieces of legislation were enacted and amended. As such, Thailand can be said to have afforded protection to trademarks for as long as 100 years up to now.
Through the passage of a considerable length of time, trademark systems in Thailand have been developed to keep pace with economic and social circumstances as well as modern technology in the 21st century. As Thailand has been an agricultural country since the very long past, no evidence has been found as to the exact time trademarks began to play an important role in Thai society. It has been merely presumed that trademarks in Thailand have evolved from the economic development of the country. As a result of an influx of foreign merchants into our country, simple society based upon the barter economy was gradually turned into modern society based upon the economy relying on money as a medium for acquisition of goods. Thence, trademarks began to be used when merchants intended to attach marks or logos on their goods in order to enable purchasers to distinguish their products from those of other merchants. The use of trademarks was a means to ensure the quality of their goods and gain trust by purchasers as well. Indeed, given that the use of trademarks in Thailand evolved through trade by foreign merchants, trademark systems in Thailand were developed from trademark systems of western nations accordingly.
Thai trademark systems have undergone dynamic development in response to advancements emerging in each particular era. We have witnessed the development pertaining to trademark registration in a variety of aspects, whether in the aspect of law-making or law amendment and in the aspect of data handling for the purposes of examination and registration of trademarks