การขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียน
หลักการในการขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียน
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้าที่ผู้ขอจดทะเบียนยื่นเข้ามาและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของนายทะเบียน หรือเป็น
เครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนได้รับจดทะเบียนให้ไปแล้ว ในกรณีต่อไปนี้ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาใหม่ คือ
- ถ้าเป็นการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า
- ถ้าเป็นการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยการขอเพิ่มเติมรายการสินค้าในจำพวกเดียวกัน
ทั้งนี้ ตัวเครื่องหมายการค้านั้นเอง และรายการสินค้า ถือว่าเป็นสาระสำคัญใน
การพิจารณาในเรื่องความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้า ดังนั้น หากจะมีการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงรูป
เครื่องหมายการค้าหรือเพิ่มเติมรายการสินค้าเข้ามา ในคำขอจดทะเบียนเดิมอาจทำให้การพิจารณาของนายทะเบียน
ผิดพลาดได้ ดังนั้น ในการขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียนนั้น พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า
พ.ศ.2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มาตรา 52 จึงได้บัญญัติ
จำกัดสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จะขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียนไว้ โดยกำหนดให้แก้ไขได้เฉพาะในเรื่อง
ดังต่อไปนี้
(1) ยกเลิกรายการสินค้าบางอย่างที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
เงื่อนไขประการหนึ่งของการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คือ จะต้องระบุรายการสินค้าที่ประสงค์จะได้รับความ
คุ้มครองแต่ละอย่างโดยชัดแจ้ง การขอจดทะเบียนนั้น ผู้ขอจดทะเบียนอาจระบุรายการสินค้าในคำขอเดียวกันมากกว่า
หนึ่งรายการก็ได้ ดังนั้นหากต่อมาภายหลังเจ้าของประสงค์จะยกเลิกรายการสินค้าบางอย่างที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ก็
ย่อมที่จะดำเนินการได้
แต่ การขอเพิ่มเติมรายการสินค้าเข้ามาใหม่จากที่ขอจดทะเบียนไว้แต่เดิมนั้น นายทะเบียนจะไม่อนุญาตให้แก้ไข
เพราะมีผลกระทบถึงเรื่องความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นได้ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
ดังนั้นถ้าหากท่านประสงค์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับรายการสินค้าที่ขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียนใหม่นั้นให้ได้ ท่านควรยื่น
เป็นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเข้ามาใหม่ และเพื่อตัดปัญหาการโต้แย้ง กฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ข้อ14 จึง
ได้กำหนดให้ผู้ขอที่ประสงค์จะขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียนส่วนหนึ่งส่วนใดซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่น
คำขอจดทะเบียนไว้ หรือต้องการเพิ่มเติมรายการสินค้าในจำพวกเดียวกันให้ผู้ขอยื่นคำขอจดทะเบียนใหม่
(2) ชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ อาชีพของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและของตัวแทน (ถ้ามี)
การขอแก้ไขชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ อาชีพ ของเจ้าของและตัวแทนนั้น เป็นรายการ
จดทะเบียนที่สามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา แต่การขอเปลี่ยนชื่อเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ท่านจะต้องแนบหลักฐาน
การเปลี่ยนชื่อแนบเข้ามาด้วย
(3) สำนักงานหรือสถานที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้
สำนักงานหรือสถานที่ติดต่อได้นี้ เป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งของการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้า ซึ่งจะสังเกตได้จากเมื่อท่านยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เงื่อนไขในการยื่นขอจด
ทะเบียนประการหนึ่ง คือ ผู้ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นหรือตัวแทน ต้องมีสำนักงานหรือสถาน
ที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ และ
เมื่อเครื่องหมายการค้านั้นได้รับการจดทะเบียนแล้ว ถ้าเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนเลิกตั้งสำนักงานหรือ
สถานที่ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทย กฎหมายให้ นายทะเบียน มีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้านั้นได้ ตามมาตรา 59
ดังนั้น หากเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนเคยระบุสถานที่ติดต่อไว้อย่างไร หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงสถาน
ที่ที่ติดต่อ จึงควรยื่นคำขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียนโดยระบุชื่อบุคคลและสถานที่ที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจนไว้ทุกครั้ง เพื่อ
ประโยชน์ของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเองที่จะได้รับหนังสือจากนายทะเบียนในการเตือนให้ทราบถึงวันครบกำหนด
ที่จะต้องต่ออายุประโยชน์อย่างหนึ่งของสถานที่ติดต่อคือ เป็นภูมิลำเนาของผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของ
เครื่องหมายการค้าที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 105 ให้ถือ
สำนักงานหรือสถานที่ของบุคคลผู้ขอจดทะเบีนนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือตัวแทนตามที่ระบุไว้ในคำขอจด
ทะเบียนหรือที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นภูมิลำเนาของบุคคลดังกล่าว
(4) รายการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ปัจจุบันกฎกระทรวง (พ.ศ.2535) ข้อ 34 กำหนดให้รายการต่อไปนี้ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ คือ
4.1 ยกเลิกตัวแทน
เป็นกรณีที่แต่เดิมในขณะยื่นคำขอจดทะเบียนมีการตั้งตัวแทนไว้ แต่ในภายหลังจะขอยกเลิกตัวแทน เจ้าของ
เครื่องหมายการค้าย่อมยื่นคำขอแก้ไขรายการเพื่อยกเลิกเลิกการเป็นตัวแทนได้
ข้อที่ควรพึงระวังในการยกเลิกการเป็นตัวแทนก็คือ หากในการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้แต่แรก ระบุว่า ในการติดต่อนั้น
ให้นายทะเบียนติดต่อไปยังตัวแทนปรากฎอยู่แล้วเช่นนี้ ในการขอยกเลิกตัวแทน ท่านก็ควรที่จะแก้ไขสถานที่ที่ให้นาย
ทะเบียนติดต่อใหม่ด้วย หากเดิมท่านระบุให้ติดต่อ
4.2 ตั้งหรือเปลี่ยนตัวแทน
ในการยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ท่านจะตั้งตัวแทนไว้หรือไม่ก็ได้ เมื่อจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว หากประสงค์จะ
ตั้งตัวแทนเพื่อมาดำเนินการแทนในภายหลังก็ย่อมดำเนินยื่นคำจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รวมทั้งกรณีที่
จะเปลี่ยนแปลงตัวแทนจากคนเดิมเป็นคนใหม่ก็ได้
4.3 สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า
ในกรณีที่เครื่องหมายการค้านั้น มีการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าอยู่ด้วย การขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียนเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับตัวคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้รับอนุญาต เช่น สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพ ซึ่งเป็นข้อปลีกย่อยเล็กน้อย กฎหมายจึงอนุญาตให้แก้ไขได้
ดังนั้นรายการอื่นใดนอกเหนือจากที่กฎหมายและกฎกระทรวงกำหนดไว้ข้างต้นนี้ จึงไม่ใช่รายการที่นายทะเบียนจะ
อนุญาตให้แก้ไข ซึ่งได้แก่
– การขอเปลี่ยนแปลงรูปเครื่องหมายการค้า
– การขอเพิ่มเติมรายการสินค้า
– การขอแก้ไขคำอ่านคำแปลเครื่องหมายการค้า
ในการขอเปลี่ยนแปลงรูปเครื่องหมายการค้าหรือการเพิ่มเติมรายการสิน
ค้านั้น แม้ในขณะที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของนายทะเบียน ยังขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่
ได้ ถ้าจะเปลี่ยนแปลงต้องยื่นเป็นคำขอจดทะเบียนเข้ามาใหม่เป็นอีกหนึ่งคำขอ ดังนั้น ยิ่งถ้าเป็นเครื่องหมายการค้าที่
ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ยิ่งไม่อาจขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปเครื่องหมายการค้า หรือเพิ่มเติมรายการสินค้าเข้ามาใหม่
ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเดิมนั้นไม่ได้เลย
สำหรับการขอจดทะเบียนแก้ไขคำอ่านคำแปลนั้น ตามหลักแล้วในการขอจด
ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น หากเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายที่เป็นเครื่องหมายคำ หรือ
ข้อความ ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศ กฎกระทรวง (พ.ศ.2535) และประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้กำหนดให้ผู้
ขอจดทะเบียนจะต้องดำเนินการดังนี้
1.จะต้องระบุคำอ่าน และคำแปลด้วย
2.ถ้าเครื่องหมายการค้านั้นไม่มีคำแปล ให้ระบุเฉพาะคำอ่าน และระบุคำแปลว่า แปลไม่ได้ ในคำขอจดทะเบียน
3.ถ้าเป็นภาษาอื่น ๆ ที่ทางราชการไม่มีพจนานุกรมเพื่อการอ้างอิง ให้ผู้ขอจดทะเบียนส่งคำรับรองคำอ่านและคำแปล
เครื่องหมายการค้านั้น แนบมาพร้อมกับการขอจดทะเบียนด้วย
4.ถ้าเป็นภาษาจีน ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องระบุคำอ่านสำเนียงจีนแต้จิ๋ว และสำเนียงจีนกลาง และคำแปลควบคู่กันมาด้วย
ดังนั้น เมื่อระบุคำอ่านคำแปลเครื่องหมายการค้าไว้อย่างไรแล้ว การจะขอแก้ไขคำอ่านเครื่องหมายการค้านั้นในภาย
หลัง จึงกระทบการต่อการเก็บสารบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งจะโยงไปถึงการตรวจสอบความเหมือนคล้ายของ
เครื่องหมายการค้าด้วย ดังนั้นกฎหมายเครื่องหมายการค้า จึงมิได้บัญญัติให้อำนาจนายทะเบียนในการอนุญาตให้
ขอแก้ไขรายการเครื่องหมายการค้าทางทะเบียนในเรื่องนี้ไว้
CR กรมทรัพย์สินทางปัญญา