หลักการตั้งชื่อแบรนด์เครื่องหมายการค้า

หลักการตั้งชื่อแบรนด์เครื่องหมายการค้า

1. เป็นชื่อที่จดจำได้ และเป็นเจ้าของได้

2. ไม่ควรเป็นชื่อทั่วไป เพราะลูกค้าอาจจำไม่ได้ และอาจสับสนกับชื่ออื่นที่ใกล้เคียงกัน

3. มีเอกลักษณ์ แตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน

4. เป็นชื่อที่ยืนยงอยู่ได้ตลอดกาล ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด และการเกิดขึ้น ของคู่แข่งรายใหม่

5. มีความหมายกว้างพอที่จะครอบคลุมความหมายทั้งหมดที่ต้องการสื่อสาร และการขยายตลาดในอนาคต

6. ชื่อที่ดี จะสามารถช่วยให้เข้าใจถึงคุณประโยชน์ของสินค้าและบริการที่ซับซ้อนได้โดยง่าย

7. ชื่อสั้น ๆ ได้เปรียบชื่อที่ยาวกว่า เพราะนอกจากจะจดจำได้ง่ายกว่าแล้ว ยังประหยัดพื้นที่และไม่รวบกวนเวลา โฆษณามากนัก

ชื่อเฉพาะที่มีจุดเด่นชัดเจน:

  • Nike, Toyota, Nintendo, Gillette, Pepsi, Coke, Starbuck, MK, Oishi

ชื่อที่บรรยายถึงลักษณะ:

pure, care, clean, soft, natural, gentle, beauty เช่น Pure & Clear, Soft & Clean, Care & Natural , Seven-

eleven ,In & Out: ร้านเบเกอรี่ของ Oishi ที่สาขาแรกมีพื้นที่แคบมากต้องเดินเข้าด้านหน้าแล้วออกทางหลังร้าน

ปัจจุบันได้ขยายเป็นร้านขนาดใหญ่แล้ว

ชื่อที่บรรยายลักษณะสินค้า หรือหมวดหมู่

  • Flower Box, Flower Bucket, Flower Cart > KaBloom, Miss Lilly

ชื่อที่เกี่ยวกับวิธีใช้

  • เบเกอรี่ Shake & Pour, Fast Shake และ Pour ‘n’ Flip ,

ชื่อที่เป็นเป็นแฟชั่น เปลี่ยนแปลงเร็ว รวมถึงเลขพ.ศ. และค.ศ.

  • เจ๋ง, จ๊าบ, Millennium, 1998, 2000, 2548, 2551

ชื่อที่เฉพาะเจาะจง

ชื่อที่แคบ ระบุถึงคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ เพียงประการเดียวอย่างเฉพาะเจาะจงมากเกินไป อาจประสบความ

สำเร็จได้เพียงแค่ในหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กเท่านั้น เช่น

  • Kentucky Fried Chicken > KFC เพื่อเสนอขายอาหารชนิดอื่นเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากไก่ทอด เช่น เบอร์เกอร์ สลัด และไอศรีม
  • Telecom Asia (TA) > True ขยายตัวจากแบรนด์โครงข่ายโทรศัพท์สู่ธุรกิจอื่นๆอย่าง True Move, True Vision,True Digital Entertainment
  • ธนาคารกสิกรไทย ในอดีตใช้ภาษาอังกฤษเป็น Thai Farmer Bank ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Kasikorn Bank เพื่อลบภาพว่าเป็นธนาคารสำหรับชาวไร่ชาวนา โดยมองว่า กสิกรเป็นคำเฉพาะคำหนึ่งแทนความหมายดั้ง เดิม

CR ดร.จินต์จุฑา อิสริยภัทร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Translate »