การพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านเครื่องหมายการค้า

 

การพิจารณาและวินิจฉัยคำคัดค้านเครื่องหมายการค้า

เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบคำคัดค้านและคำโต้แย้งที่ยื่นต่อนายทะเบียนแล้วเห็นว่าถูกต้องสมบูรณ์ตาม

บทบัญญัติของกฎหมาย เจ้าหน้าที่จะดำเนินการบันทึกคำขอจดทะเบียนที่ถูกคัดค้านเพื่อจัดทำคำวินิจฉัยต่อไป

  1. ขั้นตอนการจัดทำคำวินิจฉัย

ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการยกร่างคำวนิจฉัยจะทำการสรุปข้อเท็จจริงและวิเคราะห์ประเด็นใน คำคัดค้านและคำโต้

แย้ง พร้อมทั้งพิจารณาเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ผู้คัดค้าน และผู้โต้แย้งนำส่ง เพื่อนำเข้าที่ประชุมเสนอความเห็นต่อ

นายทะเบียนให้พิจารณาวินิจฉัยว่าจะยกคำคัดค้านหรือระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียน

เมื่อที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักเครื่องหมายการค้าในฐานะนายทะเบียนกลุ่มคัดค้าน หัวหน้ากลุ่ม

คัดค้าน และเจ้าหน้าที่ได้มีมติแล้วจะดำเนินการจัดทำร่างคาวินิจฉัยเสนอนายทะเบียนเพื่อพิจารณาลงนามต่อไป

 

  1. การพิจารณาวินิจฉัยคำคัดค้าน

เมื่อที่ประชุมมีมติแล้วเจ้าหน้าที่จะดำเนินการยกร่างคำวินิจฉัยประกอบเหตุผลตามประเด็นของเหตุแห่งการคัดค้าน ดังนี้

2.1 ประเด็นคำคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

เป็นกรณีที่ ผู้ขอจดทะเบียนอ้างในคำโต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่มีอำนาจคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอ

จดทะเบียน เนื่องจากผู้คัดค้านมิใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ผู้คัดค้าน อ้างถึง หรือมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียใน

เครื่องหมายการค้าดังกล่าว

การพิจารณาและวินิจฉัยจะพิจารณาถึงสิทธิในการยื่นคำคัดค้านซึ่งมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า

พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 กำหนดว่า

“ บุคคลใดเห็นว่า……..บุคคลนั้นจะยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนก็ได้……” บุคคลใดตามมาตรา 35 นี้มิได้เฉพาะ

เจาะจงแต่เจ้าของเครื่องหมายการค้า หรือผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้าที่ผู้คัดค้านอ้างถึงเท่านั้น แต่

หมายความถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย

2.2 ประเด็นการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า

2.2.1 กรณีบุคคลหลายคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดียวกันหรือเกือบเหมือนกัน ที่ใช้สำหรับสินค้าชนิด

เดียวกัน และขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น หลักการพิจารณาคือ บุคคลใดที่ยื่นขอจดทะเบียน

เครื่องหมายการค้าเข้ามาก่อน ย่อมถือว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนก่อนบุคคลอื่น เว้นแต่ ผู้คัดค้านจะ

สามารถนำสืบพยานหลักฐานให้นายทะเบียนเห็นได้ว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียน

2.2.2 กรณีบุคคลอื่นนำเอาเครื่องหมายการค้าของเจ้าของที่แท้จริงมายื่นขอจดทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมี

การลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง

ในกรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนไว้แล้วกับสินค้าหนึ่งหรือหลายสินค้า แต่

ได้อ้างสิทธิความเป็นเจ้าของสำหรับสินค้าอื่นที่ตนยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ หลักการพิจารณาคือ บุคคลใดได้จด

ทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าใด ก็ย่อมถือว่าเป็นเจ้าของและมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้เครื่องหมาย

สาหรับสินค้านั้น ดังนั้น บุคคลดังกล่าวจึงไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจด

ทะเบียนกับสินค้าอื่นได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านสามารถนำสืบพยานหลักฐานต่างๆ ให้นายทะเบียนเห็นว่า ผู้คัดค้านเป็น

เจ้าของที่แท้จริงในเครื่องหมายการค้านั้นและมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียน

2.2.3 ในกรณีที่เครื่องหมายการค้านั้นได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในต่างประเทศแต่ยังไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนใน

ประเทศไทย และได้อ้างสิทธิความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย หลักการพิจารณาคือ

เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศ ไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้พิจารณา

ความเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนในประเทศไทยจะ

ต้องเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมากจนอาจทำให้สาธารณชนหรือผู้บริโภคสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือ

แหล่งกำเนิดของสินค้านั้นได้

2.3 ประเด็นเครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 ใช้หลักการพิจารณาเดียวกันกับหลัก

การพิจารณาตรวจสอบและรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

  1. การแจ้งผลคำวินิจฉัย

มาตรา 37 เมื่อนายทะเบียนได้มีคำวินิจฉัยแล้วให้มีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนและผู้

คัดค้านทราบโดยไม่ชักช้า

ผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่

ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า

เมื่อนายทะเบียนได้มีคำวินิจฉัยแล้ว ให้นายทะเบียนแจ้งผลคำวินิจฉัยให้ผู้ขอจดทะเบียนและผู้คัดค้านทราบโดยไม่

ชักช้า หากผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของนายทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนหรือ ผู้คัดค้านมี

สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนาย

ทะเบียน

 

Translate »