การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าโดยการรับมรดก

 

การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าโดยการรับมรดก

กรณีนี้อาจแบ่งออกเป็น 2 กรณีได้ คือ

1.กรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้ตายทำพินัยกรรมหรือมีผู้จัดการมรดก

กรณีนี้ผู้รับพินัยกรรมหรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนโอน

สิทธิในเครื่องหมายการค้าและเป็นผู้ทำสัญญาโอนให้แก่ผู้รับโอน

2.กรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือ

ไม่มีการร้องขอต่อศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ในการขอโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า จะต้องให้ทายาททุกคนทำ

หนังสือยืนยันว่า ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และไม่มีการร้องขอต่อศาลตั้งผู้จัดการมรดก และให้ระบุจำนวน ชื่อทายาท

ของผู้ตายทุกคน และความเกี่ยวพันระหว่างผู้ตายและทายาท พร้อมทั้งระบุว่า จะยกสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่

ทายาทคนใด พร้อมทั้งส่งหลักฐานการเป็นทายาทมาประกอบการขอจดทะเบียนโอนด้วย นอกเหนือจากเอกสารใบ

มรณะบัตร หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าถึงแก่ความตาย

สำหรับในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย การตายโดยธรรมชาติของบุคคลธรรมดา จะนำ

มาใช้กับนิติบุคคลไม่ได้ นิติบุคคลจะสิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลต่อเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคล และตั้งผู้ชำระ

บัญชีเพื่อดำเนินการชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของนิติบุคคล เมื่อชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของนิติบุคคล

เรียบร้อยและแบ่งคืนเงินลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นแล้ว ผู้ชำระบัญชีจะต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระต่อนายทะเบียนหุ้นส่วน

บริษัทอีกคร้ง จึงจะถือว่าเป็นที่สุดแห่งการชำระบัญชี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1270

โดยเหตุนี้ ถ้าในระหว่างการชำระบัญชี ถ้าผู้ชำระบัญชีได้ทำสัญญาโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่ผู้รับโอนคนใด

ไป ดังนี้ผู้ชำระบัญชีหรือผู้รับโอนมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นต่อนายทะเบียนได้แต่

ถ้าหากสัญญาโอนทำขึ้นมาภายหลังได้มีการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีไปแล้ว เช่นนี้ นายทะเบียนไม่อาจ

พิจารณาโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นให้ได้ เพราะทันทีเมื่อจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี อำนาจของผู้ชำระ

บัญชีย่อมสิ้นสุดลงไปยังตัวแทนของท่าน

CR กรมทรัพย์สินทางปัญญา

Translate »