การตรวจสอบและพิจารณาสั่งการเครื่องหมายการค้าฉบับปีพ.ศ.2565

การตรวจสอบและพิจารณาสั่งการเครื่องหมายการค้าฉบับปีพ.ศ.2565

แนวทางการตรวจสอบและพิจารณาสั่งการเครื่องหมายการค้าของ นายทะเบียน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การตรวจสอบแบบพิมพ์คำขอและรายการในคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า และ

ส่วนที่ 2 การพิจารณาลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน ดังนี้

ส่วนที่ 1 การตรวจสอบแบบพิมพ์คำขอและรายการในคำขอ การตรวจสอบแบบพิมพ์คำขอและรายการในคำขอตามมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 ประกอบ กฎกระทรวงฯ เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว นายทะเบียนจะคำการ ตรวจสอบรายละเอียดในแบบพิมพ์คำขอ รายการในคำขอ การแนบสำเนาเอกสารประกอบคำขอ หนังสือมอบ อำนาจ อากรแสตมป์ การรับรองลายมือชื่อ การลงลายมือชื่อ

ในคำขอจดทะเบียน

1. การพิจารณาคำขอจดทะเบียน (แบบพิมพ์คำขอ)

2 1.1 รายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของ/ตัวแทน เจ้าของ/ตัวแทน ต้องกรอกข้อความในคำขอให้ครบถ้วนเป็นภาษาไทย (เว้นแต่กรณีเป็นคำขอ มาดริด) โดยต้องระบุสถานที่ติดต่อได้ในประเทศไทยให้ชัดเจน

1.1.1 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ดังนี้

1) ชื่อเจ้าของ/ตัวแทน ต้องระบุคำนำหน้านามในคำขอจดทะเบียน  เว้นแต่ กรณีเป็น คำขอมาดริด ให้ยึดข้อมูลตามสำนักระหว่างประเทศ

2) กรณีเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไปให้ระบุคำนำหน้าชื่อตามบัตรประชาชน เช่น นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง ด.ช. ด.ญ. เป็นต้น

3) กรณีใช้ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์เป็นคำนำหน้านาม

4 (1) กรณีเป็นบุคคลไทย เช่น ศ. รศ. ผศ. ร.ต.อ. ว่าที่ร้อยตรี หม่อมเจ้า หม่อม ราชวงศ์ ท่านผู้หญิง คุณหญิง ต้องยื่นเอกสารแสดงวิทยฐานะหรือเอกสารแสดงยศบรรดาศักดิ์ประกอบกับ คำขอด้วย เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หนังสือเดินทาง หรือบัตรอื่นที่ราชการออกให้

(2) กรณีเป็นบุคคลต่างประเทศ เช่น Prof. Dame Lord Lady Sir ให้ถือตามที่ผู้ขอ ได้ระบุไว้ในคำขอจดทะเบียนที่มีการรับรองโดยโนตารีปับลิก เช่น หนังสือมอบอำนาจที่มีโนตารีปับลิกรับรองแล้ว

4) คำนำหน้านามของพระภิกษุสามเณร ให้ระบุดังนี้

(1) คำนำหน้านามของพระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ให้ระบุสมณศักดิ์ และระบุชื่อตัวและชื่อสกุลของพระภิกษุประกอบ โดยวงเล็บต่อท้าย เช่น สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) เป็นต้น

(2) คำนำหน้านามของพระภิกษุที่ไม่เคยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ให้ระบุคำว่า “พระ” เป็นคำนำหน้านามตามด้วยชื่อตัวและชื่อสกุลของพระภิกษุ เช่น พระชื่อตัว ชื่อสกุล

(3) คำนำหน้านามของสามเณร ให้ระบุคำว่า “สามเณร” เป็นคำนำหน้านาม ตาม ด้วยชื่อตัวและชื่อสกุลของสามเณร เช่น สามเณรชื่อตัว ชื่อสกุล

(4) คำนำหน้านามในศาสนาอื่น เช่น Rev. (บาทหลวง) ต้องยื่นเอกสารแสดง วิทยฐานะหรือเอกสารแสดงยศบรรดาศักดิ์ประกอบคำขอด้วย เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หนังสือ เดินทาง หรือบัตรอื่นที่ราชการออกให้ 5) กรณีที่ไม่ถือเป็นคำนำหน้านาม เช่น

(1) คำว่า ด็อกเตอร์ หรืออักษรย่อ ดร. เพราะเป็นคำที่แสดงคุณวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาเอก ไม่ใช่ตำแหน่งทางวิชาการ

(2) คำนำหน้าของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น นายแพทย์ นายสัตวแพทย์ เภสัชกร

(3) คำนำหน้านามที่แสดงสถานภาพ เช่น นักโทษชาย นักโทษหญิง

(4) ค าอื่น ๆ เช่น มาดาม (Madam) ซินญอร์ (Signor)

6) กรณีผู้ขอเป็นผู้เยาว์ (ผู้มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)

(1) กรณีผู้เยาว์ยื่นคำขอด้วยตัวเองให้ระบุ เช่น เด็กชายภูภูมิ เก่งกาจ โดยผู้เยาว์ ต้องเป็นผู้ลงนามในคำขอเอง ทั้งนี้ให้ส่งหนังสือยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมด้วย

(2) กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินการแทนผู้เยาว์ให้ระบุ เช่น เด็กชายภูภูมิ เก่งกาจ โดย นายสิทธิศักดิ์ เก่งกาจ ผู้แทนโดยชอบธรรม กรณีนี้ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อใน แบบฟอร์ม ทั้งนี้ ไม่ต้องส่งหนังสือยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

7) กรณีกลุ่มแม่บ้านให้ระบุ เช่น นางสาวญาญ่า สวยสุด (ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน) หรือ (ประธานกลุ่มแม่บ้าน) เป็นต้น และให้ส่งรายงานแสดงว่ามีฐานะเป็นบุคคลและข้อความที่แสดงว่าตกลงให้ผู้ใด เป็นผู้ยื่นคำขอ

8) กรณีวิสาหกิจชุมชน (บุคคลธรรมดา) ให้ระบุชื่อของประธานวิสาหกิจเป็นชื่อผู้ขอ จดทะเบียน สามารถระบุต่อท้ายชื่อของผู้ขอว่า โดยวิสาหกิจชุมชน เช่น นายณเดช รูปหล่อ (โดยประธาน วิสาหกิจชุมชนบ้านช่างหล่อ) เป็นต้น และให้ส่งหนังสือแสดงการเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนมาด้วย เช่น รายงานการประชุม เป็นต้น 9 9) รายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของ/ตัวแทน เช่น ชื่อ ที่อยู่ คำนำหน้านาม ให้ใช้ข้อมูลที่ ระบุในแบบ ก.01 หากข้อมูลในแบบ ก.01 หนังสือมอบอำนาจ หรือบัตรประชาชน ไม่ตรงกัน ให้อ้างอิงข้อมูล จากบัตรประชาชน

1.1.2 กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

1) ชื่อนิติบุคคลให้ระบุชื่อตามที่จดทะเบียนไว้ และให้ระบุที่ตั้งของส านักงานใหญ่เป็นที่อยู่

2) นิติบุคคลไทยต้องระบุนิติฐานะมาพร้อมกันด้วยโดยระบุเป็นค าเต็ม เช่น ห้าง หุ้นส่วนจ ากัด บริษัท…จ ากัด บริษัท…จ ากัด (มหาชน) สหกรณ์สมาคม มูลนิธิรัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลใน ลักษณะอื่น ฯลฯ

3) นิติบุคคลต่างประเทศต้องระบุค าอ่านของชื่อและนิติฐานะ (ทับศัพท์) เช่น “Facebook Co., Ltd.” ให้ระบุเป็น “เฟซบุ๊ค โค., แอลทีดี.” “KAWASAKI KABUSHIKI KAISHA” ให้ระบุ เป็น “คาวาซากิ คาบูชิกิ ไกชา” “Knauf Interfer SE” ให้ระบุเป็น “คนุฟ อินเทอร์เฟอร์ เอสอี” “Groth & Co KB” ให้ระบุเป็น “โกรท แอนด์ โค เคบี”

4) รายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของ/ตัวแทน เช่น ชื่อ ที่อยู่ ให้ใช้ข้อมูลที่ระบุในแบบ ก.01 หากข้อมูลในแบบ ก.01 หนังสือมอบอ านาจ หรือหนังสือรับรองบริษัท ไม่ตรงกัน ให้อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ รับรองบริษัท

Translate »