หลักทั่วไปการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

หลักทั่วไปการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

หลักทั่วไป การพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นอำนาจของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์1 เมื่อมีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น ยื่นคำขอจดทะเบียนด้วย ตัวเองผ่านฝ่ายบริการรับคำขอ หรือ ผ่านทางระบบจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) การตรวจสอบเครื่องหมายการค้าจะดำเนินการโดยนายทะเบียนผู้รับผิดชอบหนึ่งคน โดยเริ่มพิจารณาคำขอ จดทะเบียน 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การตรวจสอบแบบพิมพ์คำขอและรายการในคำขอ มาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11

(1) การพิจารณาคำขอจดทะเบียน (แบบพิมพ์คำขอ)

(2) การพิจารณารายการสินค้าและบริการ

(3) การพิจารณาคำอ่านและคำแปล

(4) การพิจารณารูปเครื่องหมาย

(5) การพิจารณาการให้สิทธิตามมาตรา 28 และมาตรา 28 ทวิ (ถ้ามี) ส่วนที่ 2 การพิจารณาลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน มาตรา 6

(1) การพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

(2) การพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน

(3) การพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้า เมื่อนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าคำขอจดทะเบียนมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 และเครื่องหมายมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 นายทะเบียนจะมี คำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนตามมาตรา 29 และเมื่อได้ประกาศโฆษณาคำขอแล้วบุคคลใดไม่เห็น ด้วยอาจใช้สิทธิยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนได้ หากนายทะเบียนเห็นว่าคำขอมีรายละเอียดไม่ถูกต้องหรือเครื่องหมายไม่มีลักษณะอันพึงรับ จดทะเบียนได้ นายทะเบียนจะมีคำสั่งแจ้งผู้ขอ ซึ่งผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 18 แต่หากผู้ขอจดทะเบียนไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 18 หรือมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน แล้วแต่กรณี ให้ถือว่าผู้ขอจดทะเบียนละทิ้งคำขอจดทะเบียนตามมาตรา 19

Translate »