187_2
187_5187_4187_3

งานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร

0ขายโดย

งานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร

 

งานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร

งานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร

 

งานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร

  • เลขที่คำขอสิทธิบัตร/แจ้งจด 1201006032

  • เลขทะเบียนสิทธิบัตร อยู่ระหว่างยื่นคำขอ

ที่มาของงานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร

ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา

ในการผลิตผลไม้แช่อิ่มจะต้องใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติ เช่น มะเขือเทศ มะขามป้อม พุทรา องุ่น หรือตะลิงปลิง เป็นต้น ใส่ลงไปในน้ำเชื่อม เพื่อต้องการให้น้ำเชื่อมซึมเข้าไปในเนื้อผลไม้ แต่ผลไม้ดังกล่าวมีเปลือกที่เป็นผิวมัน น้ำเชื่อมจึงซึมเข้าสู่เนื้อผลไม้ได้ยาก การแก้ปัญหาโดยวิธีการดั้งเดิมคือ การเจาะผิวผลไม้โดยการใช้ส้อมจิ้มลงบนผิวผลไม้ทีละผลโดยตรง ต่อมาได้มีการดัดแปลงโดยการใช้ตะเข้จีนซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นไม้ขนาดประมาณ 12 x 30 เซนติเมตร โดยมีลวดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1 เซนติเมตร วางเรียงตัวห่างกันประมาณ 0.5 เซนติเมตร ด้วยการตอกเส้นลวดดังกล่าวลงไปในเนื้อไม้ให้สูงพ้นพื้นผิวแผ่นไม้ประมาณ 0.5 เซนติเมตร โดยกระจายเส้นลวดดังกล่าวให้ทั่วแผ่นไม้ การเจาะผิวผลไม้ทำโดยการนำผลไม้วางบนลวดแล้วใช้มือกดแล้วกลิ้งให้ลวดเจาะทะลุรอบผลไม้ การใช้เครื่องมือทั้ง 2 แบบนี้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและได้ผลผลิตน้อย ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน จากปัญหาดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะประดิษฐ์เครื่องเจาะผิวผลไม้ เพื่อช่วยในการทำงาน ลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ ลดระยะเวลาในการทำงาน และไม่ต้องพึ่งพาความชำนาญส่วนบุคคลในการเจาะผิวผลไม้

 สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาร

การประดิษฐ์นี้เป็นการประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเจาะผิวผลไม้ ซึ่งมีลักษณะที่ประกอบด้วย ชุดเจาะนำเป็นทรงกระบอกมีลวดยื่นออกมาจากผิว หมุนรอบแกนได้โดยการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่เจาะผิววัตถุจากทางเข้าไปสู่ทางออก โดยมีชุดเจาะตามประกอบด้วยแผ่นโค้งที่มีลวดยื่นออกมาจากส่วนโค้ง ซึ่งแผ่นโค้งหมุนรอบแกนด้วยแรงดึงของสปริงและมีจุดพักที่เพลา ทำหน้าที่เจาะและดันวัตถุเข้าชุดเจาะนำจากทางเข้าไปสู่ทางออก

จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยเครื่องเจาะผิวผลไม้เพื่อทำการถนอมอาหาราร์บอเนต

การพัฒนาเครื่องเจาะผิวผลไม้ที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะบุคคล ลดอันตรายและความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการใช้เครื่องมือ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

CR thailandtechshow

ข้อมูลติดต่อสอบถามงานวิจัย
ชื่อ นาย อดิเรก ล้อมวงษ์
อีเมล business_noom@hotmail.com
Facebook www.facebook.com/copy8
line Copyri.com

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Translate »