ดูตะกร้าสินค้า เพิ่ม “ขายอนุสิทธิบัตรกาวดินน้ำมัน” ในตะกร้าเรียบร้อย
งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

0ขายโดย

งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

 

งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

ที่มาของงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

แยม เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม semi – soft spread ซึ่งนอกจากแยมแล้วผลิตภัณฑ์ กลุ่มนี้ได้แก่ เยลลี่ มาร์มาเหลด แยมผสม และเนยผลไม้ เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ได้มีการให้คำจำกัดความถึงลักษณะผลิตภัณฑ์แยมหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อผลไม้และน้ำตาล ทั้งนี้จะต้องมีเนื้อผลไม้แท้ไม่น้อยกว่า 45 ส่วน ต่อน้ำตาล 55 ส่วน และเมื่อผลิตแล้ว แยมจะต้องมีของแข็งที่ละลายน้ำอยู่ไม่ต่ำกว่า 65% (Desrosier และ Desrosier, 1977) ผลิตภัณฑ์ semi – soft spread ที่ดีนั้น โดยทั่วไปไม่ควรจะมีรสชาติเปรี้ยวแกมหวาน ถูกใจผู้บริโภค มีการคงตัวของเจลที่เกิดขึ้นในระดับดี ไม่เละเหนียวจนเกินควรมีการกระจายตัวของเนื้อผลไม้ที่มีอย่างทั่วถึง ไม่มีการตกผลึกของน้ำตาล การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเหมาะสมระหว่างปริมาณและคุณภาพของส่วนผสมที่ใช้ อันได้แก่ น้ำ เพคติน น้ำตาล และกรดเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระดับอุณหภูมิที่ใช้ในการผลิต การปนเปื้อนของอนุมูลโลหะ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ในการผลิต เป็นต้น
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (riceberry) ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลักษณะเป็นข้าวเจ้า สีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลมาก ปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อไร่ปานกลาง ต้านทานต่อโรคไหม้ แต่ไม่ต้านทานโรคหลาว จึงควรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว โดยความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พันธุ์ข้าวนี้ได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่แล้ว ห้ามนำไปขยายพันธุ์เชิงการค้าต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก วช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แกมมาโอไรซานอล วิตามินอี แทนนิน สังกะสี และโฟเลตสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง สารอาหารสำคัญที่อยู่ในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ประกอบด้วยโอเมก้า 3 มีอยู่ 25.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กรดไขมันจำเป็น มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับและระบบประสาท ลดระดับคอเลสเตอรอล ธาตุสังกะสี 31.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ช่วยสังเคราะห์โปรตีน สร้างคอลลาเจน รักษาสิว ป้องกันผมร่วง กระตุ้นรากผม, ธาตุเหล็ก 13-18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สร้างและจ่ายพลังงานในร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ออกซิเจนในร่างกาย และสมอง วิตามินอี 678 ug ต่อ 100 กรัม ชะลอความแก่ ผิวพรรณสดใส ลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ทำให้ปอดทำงานดีขึ้น, วิตามินบี 1 มีอยู่ 0.42 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย ป้องกันโรคเหน็บชา, เบต้าแคโรทีน (สารตั้งต้นของวิตามินเอ) 63 ug ต่อ 100 กรัม ชะลอความแก่ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง บำรุงสายตา ลูทีน 84 ug ต่อ 100 กรัม ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม บำรุงการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงตา โพลิฟีนอล 113.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง แทนนิน 89.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แก้ท้องร่วง แก้บิด สมานแผล แผลเปื่อย แกมมา โอไรซานอล 462 ug ต่อ 100 กรัม ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ได้อย่างเป็นปกติ ลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม นอกจากนี้ เส้นใยอาหาร (fiber) มีอยู่ปริมาณมากในข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยระบบขับถ่าย
ลักษณะเด่นที่สำคัญของข้าวไรซ์เบอรี่คือ เป็นข้าวสีม่วงโดยธรรมชาติ นั่นแสดงว่ามีสารแอนโทไซยานิน( Anthocyanin ) ซึ่งเป็นรงค์วัตถุหรือสารให้สีตามธรรมชาติ ซึ่งให้สีกับส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ใน ราก ลำต้น จนถึงผลและเมล็ด โดยที่สารแอนโทไซยานิน ของข้าวไรซ์เบอร์รี่จะพบที่pericarb ของรำข้าวไรซ์เบอรี่
(Riceberry Bran )ซึ่งสารแอนโทไซยานินนี้ มีความสามารถในการละลายในน้ำได้ ซึ่งจัดอยู่กลุ่มของฟลาโวนอยด์
(flavonoid) โดยมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสะที่ให้สีม่วง แดงเข้ม โดยทั่วไปแล้วสีของแอนโทไซยานินนั้นจะมีการเปลี่ยนไปตามความเป็นกรดเป็นด่าง กล่าวคือ เมื่ออยู่สภาวะความเป็นเมื่ออยู่ในสภาวะความเป็นกรดจะมีสีแดงเข้ม แต่หากอยู่ในสภาวะความเป็นกลางจะมีสีม่วง และเมื่ออยู่ในสภาวะความเป็นด่างก็จะมีน้ำเงินถึงน้ำเงินเข้ม

 สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่

จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดเชิงพาณิชย์และถ่ายทอดสู่ชุมชน

แยมจากข้าวไรซ์เบอรี่ที่มีสีม่วง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แกมมาโอไรซานอล วิตามินอี แทนนิน สังกะสี และโฟเลตสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง ซึ่งมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ

ความร่วมมือที่เสาะหา

เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

CR thailandtechshow

ข้อมูลติดต่อสอบถามงานวิจัย
ชื่อ นาย อดิเรก ล้อมวงษ์
อีเมล business_noom@hotmail.com
Facebook www.facebook.com/copy8
line Copyri.com

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Translate »