การคุ้มครองลิขสิทธิ์และระงับข้อพิพาทในยุคดิจิทัลข้อ1

การคุ้มครองลิขสิทธิ์และระงับข้อพิพาทในยุคดิจิทัลข้อ1

1. เพิ่มบทนิยามคำว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” “มาตรการทางเทคโนโลยี” และ “การหลบเลี่ยง มาตรการทางเทคโนโลยี”

ข้อมูลการบริหารสิทธิ” ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่บ่งบอก ว่าผู้สร้างสรรค์คือใคร เจ้าของลิขสิทธิ์คือใคร ปีที่สร้างสรรค์ ผลงานอันมีลิขสิทธิ์คือปีใด โดยข้อมูลนี้อาจจะเป็นภาษา สามัญที่สามารถอ่านได้ รวมถึงตัวเลขหรือรหัสที่ใช้แทน ข้อมูลเหล่านั้นด้วย เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำ หนังสือ (International Standard Book Number: ISBN) และรหัสงาน ดนตรีกรรมมาตรฐานสากล (International Standard Musical Work Code: ISWC) เป็นต้น

“มาตรการทางเทคโนโลยี” คือ เทคโนโลยีที่ออกแบบ มาเพื่อป้องกันการทำ ซ้ำ หรือควบคุมการเข้าถึงงานอันมี ลิขสิทธิ์ เพื่อที่เจ้าของงานลิขสิทธิ์จะได้ป้องกันไม่ให้ผู้ใดเข้า มาใช้งานลิขสิทธิ์ของตนโดยไม่ชอบ เช่น การใส่รหัสผ่าน (password) หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ารหัส (encryption)

ตัวอย่างการใช้มาตราทางเทคโนโลยี เช่น เจ้าของ ลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงผลิตซีดีเพลงออกจำ หน่ายและ ใช้มาตรการทางเทคโนโลยีป้องกันไม่ให้มีการทำ ซ้ำ ซีดี เพลงนั้น หรือเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมที่อยู่ในรูปสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book ได้ใช้มาตรการทางเทคโนโลยี กำ หนดจำ นวนครั้งหรือระยะเวลาที่ผู้ใช้สามารถอ่าน e-book นั้นได้ เป็นต้น

“การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” คือ การกระทำ ใดๆ ที่ทำ ให้มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล เช่น การถอดรหัส (decryption) การเจาะรหัส (password hacking) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาเข้าถึงงาน ลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

1. Addition of new terms with definitions for:- “Rights Management Information” (RMI), “Technological Protection Measures” (TPM), “Circumvention of Technological Protection Measures”.

“Rights Management Information”. The examples are the information identifying the author, copyright owner, or the year in which the author created work. RMI could be in such form as any legible ordinary language, numeral, or code e.g. International Standard Book Number (ISBN), International Standard Musical Work Code (ISWC), etc.

“Technological Protection Measures” means the technology designed to prevent the reproduction or control access to the copyrighted work. This technology is intended to help copyright owners to protect their work from unauthorized access by use of password or encryption technique.

The examples of technological protection measures are:- a copyright owner produces and sells CDs containing his/her own copyrighted songs and uses the technology to prevent the reproduction of the songs; or a copyright owner of an e-book version of literary work uses the technology to limit the frequency or time duration for viewers to read his/her e-book, etc.

“Circumvention of Technological Protection Measures” means any acts taken to disable the Technological Protection Measures. The examples are decryption, hacking of password earlier set up by a copyright owner to prevent unauthorized use of his/ her work.

Translate »