กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่

การประกอบธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการพัฒนา และแข่งขันกันมากขึ้น เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นหนึ่ง ในเครื่องมือส่งเสริมการตลาดที่สำ คัญที่ทำ ให้ผู้บริโภค ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจึงยิ่งทวีความสำ คัญขึ้นตามลำ ดับ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ตระหนักในข้อเท็จจริง ดังกล่าว จึงได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเครื่องหมายการค้า เพื่อทำ ให้ระบบการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ของประเทศไทยมีความก้าวหน้า เหมาะสม เท่าทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการส่งเสริม การค้าของประเทศ โดยเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติเห็นสมควรให้ ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นกฎหมาย โดยมีสาระสำ คัญสรุปได้ ดังนี้

1. ขยายขอบเขตการให้ความคุ้มครองไปยัง เครื่องหมายเสียง เนื่องจากการประกอบธุรกิจ ในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงขึ้น การคิดค้นกลยุทธ์ทางการตลาดในการนำ เสนอสินค้าจึงเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการนำ เครื่องหมายการค้ารูปแบบใหม่ คือ เสียง ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามาใช้ ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อให้สามารถ จดจำ ได้ง่ายและไม่สับสนหลงผิด โดยมีตัวอย่าง เครื่องหมายเสียงที่เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยของสาธารณชน เช่น เสียงดนตรีจากรถขายไอศครีม เสียงเริ่มต้นรายการ โทรทัศน์ เสียงเริ่มต้นรายการข่าว เป็นต้น กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่นี้จึงได้ มีการขยายขอบเขตการให้ความคุ้มครองไปยังเครื่องหมาย ดังกล่าว เพื่อให้สามารถรับจดทะเบียนเสียงเป็นเครื่องหมาย การค้าได้ ซึ่งจะทำ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้เครื่องหมาย เสียงในการส่งเสริมการตลาด โดยจะทำ ให้สินค้าเป็น ที่รู้จักต่อผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว อันจะเป็นประโยชน์ต่อ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า

2. ปรับปรุงขั้นตอน และระยะเวลาการจดทะเบียน ให้มีความชัดเจนและรวดเร็วมากขึ้น โดยยกเลิกขั้นตอนที่ให้ผู้ขอจดทะเบียนหลายรายซึ่งยื่นคำ ขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันไปตกลงกัน ว่ารายหนึ่งรายใดจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนดำ เนินการเกี่ยวกับคำ ขอจดทะเบียน ที่ได้ยื่นไว้เป็นรายแรกก่อน นอกจากนี้ ได้มีการลดระยะเวลาปฏิบัติตามคำ สั่ง ของนายทะเบียน การคัดค้าน การโต้แย้ง การอุทธรณ์ คำ สั่งของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการ การปฏิบัติ ตามคำ วินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ จาก 90 วัน เหลือ 60 วัน ซึ่งจะทำ ให้ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเร็วยิ่งขึ้น อันเป็น การสนองตอบต่อการประกอบธุรกิจในยุคปัจจุบัน

3. กำ หนดบทกำ หนดโทษสำ หรับการนำ หีบห่อ หรือภาชนะที่แสดงเครื่องหมายการค้าของบุคคล อื่น ที่จดทะเบียนไว้มาใช้สำ หรับสินค้าของตนเอง หรือของบุคคลอื่น เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้า ของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เพื่อเป็นการคุ้มครอง ผู้บริโภคและเจ้าของเครื่องหมายการค้า เนื่องจาก ปัจจุบันมีการนำ หีบห่อหรือภาชนะที่มีเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนแล้วของบุคคลอื่นมาบรรจุสินค้าที่ไม่ใช่สินค้า ของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เช่น น้ำ มันเครื่อง ยาสระผม เป็นต้น โดยมีเจตนาที่จะให้ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค หลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า จดทะเบียน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของ เครื่องหมายดังกล่าว และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหาร และยา เป็นต้น

4. ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้าย พระราชบัญญัติ เพื่อให้เหมาะสมและทันต่อสภาวการณ์ ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยการปรับค่าธรรมเนียม เพิ่มขึ้น ๑ เท่าตัวทุกรายการ เช่น ค่าธรรมเนียมคำ คัดค้าน เดิม ฉบับละ 1,000 บาท ใหม่ ฉบับละ 2,000 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับวิธีคิดค่าธรรมเนียมในส่วนของ การยื่นคำ ขอจดทะเบียน การจดทะเบียน และการต่ออายุจากเดิมที่คิดเป็นรายการสินค้า/บริการ เป็น หากสินค้า/ บริการแต่ละจำ พวก 1 ถึง 5 อย่าง คิดเป็นรายการสินค้า/ บริการ และหากสินค้า/บริการ แต่ละจำ พวก มากกว่า 5 อย่าง คิดเป็นจำ พวก ทั้งนี้ การคิดเป็นจำ พวกจะสอดคล้องกับ การคิดค่าธรรมเนียมของพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) ซึ่งประเทศไทยกำ ลังจะเข้าเป็นภาคี

5. เพิ่มบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใต้พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) เพื่อให้มีกฎหมายรองรับการเข้า เป็นภาคีพิธีสารมาดริดซึ่งจะเป็นการอำ นวยความสะดวก ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกของไทยในการยื่นคำ ขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปยังประเทศสมาชิก ของพิธีสารดังกล่าวอีก 97 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว โดยเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบการ จะสามารถมายื่นขอจดทะเบียนได้ที่กรมทรัพย์สิน ทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ แทนการเดินทางไปยัง ประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่นี้ ในส่วนของการขยายขอบเขตความคุ้มครองไปยัง เครื่องหมายเสียง การปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลา การจดทะเบียน บทกำ หนดโทษ และการปรับปรุงอัตรา ค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำ หนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าภายใต้พิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) จะมีผลใช้บังคับโดยการตราพระราชกฤษฎีกากำ หนดวัน ใช้บังคับต่อไป

Translate »